ติดต่อเรา
29/11 หมู่ 3 ถนนพระราม 2 ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
อีเมล : lekise.digitalmkt@gmail.com
LeKise
คำศัพท์เกี่ยวกับหลอดไฟ
  • คำศัพท์เกี่ยวกับหลอดไฟ

    Accent lighting – หมายถึง การจัดแสงเพื่อส่องเน้นหรือดึงดูดความสนใจไปยังวัตถุหรืออาคารเป็นพิเศษ ไฟส่องเน้นช่วยสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายพร้อมลดความเคร่งขรึมได้เป็นอย่างดี กุญแจสำคัญในการจัดแสงแบบส่องเน้น ได้แก่ การควบคุมความสว่างเพื่อสร้างคอนทราสต์ที่ชัดเจนระหว่างแสงและเงา ระดับความสว่างที่ต่างกัน และมุมตกกระทบของแสง ไฟส่องเน้นสามารถใช้งานได้ดีในพื้นที่การใช้งานซึ่งไฟส่องสว่างทั่วไปให้ความสว่างในระดับที่ต่ำกว่าเท่านั้น

    Adaptation - ดวงตาของเราต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับความสว่างที่เปลี่ยนไป กระบวนการนี้เรียกว่า Adaptation หรือ ความสามารถของดวงตาในการปรับตัวให้เข้ากับระดับความสว่างที่ต่างกันด้วยการปรับขนาดของรูม่านตา ส่วนจะปรับมากน้อยเพียงใดและใช้เวลานานเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับระดับความสว่างก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวในที่สว่าง (Light adaptation) จะใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที ในขณะที่การปรับตัวในที่มืด (Dark adaptation) จะใช้เวลานานกว่ามาก กล่าวคือ สายตามนุษย์จำเป็นต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที เพื่อปรับตัวในสถานการณ์ที่ระดับความสว่างลดลง เช่น การออกจากอาคารซึ่งเปิดไฟสว่างเข้าสู่ความมืดมิดภายนอกยามค่ำคืน กระบวนการปรับตัวในที่นี้สามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการมองเห็นได้อย่างชัดเจน

    Adaptive controls - หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ตัวจับเวลา และตัวหรี่ไฟ อุปกรณ์เหล่านี้จะทำงานประสานกับอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคาร เพื่อปรับความเข้มแสงหรือระยะเวลาที่หลอดไฟทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการ

    Adaptive lighting – การจัดแสงแบบไดนามิกที่มาพร้อมคุณสมบัติปรับเปลี่ยนระดับความสว่างตามความเหมาะสมกับสภาพแสงระหว่างวัน เรียกว่า Adaptive lighting มักนำมาใช้ให้แสงสว่างในห้องที่ไม่มีแสงธรรมชาติส่องถึงหรือแสงธรรมชาติส่องถึงเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงสำนักงานแบบเปิดโล่ง ทั้งนี้กระบวนการจำลองแสงธรรมชาติได้รับการควบคุมโดยเซนเซอร์ตรวจจับตัวแปรแสงตั้งแต่หนึ่งตัวแปรขึ้นไป ผ่านโปรแกรมหรือระบบควบคุมตามระยะเวลา

    Ambient light – หมายถึง ระดับแสงส่องสว่างทั่วไปในพื้นที่การใช้งานโดยรวม

     

    >Ballast - หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้กับหลอดดิสชาร์จเพื่อควบคุมแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และ/หรือ สัญญาณไฟฟ้า ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการจุดหลอดไฟและการใช้งานแบบต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

    Bathroom luminaires - โคมไฟห้องน้ำจัดเป็นโคมไฟแบบพิเศษเหมาะสำหรับการใช้งานภายในพื้นที่อับชื้น หากต้องการความเชื่อมั่นในการใช้งาน โปรดเลือกซื้อโคมไฟห้องน้ำโดยพิจารณาจากระดับการป้องกัน (IP) และคลาสการป้องกันอย่างถี่ถ้วน

    Bollard luminaires – หากพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า โคมไฟส่วนใหญ่มักใช้ให้แสงสว่างตามทางเดิน นั่นทำให้ระดับความสูงในการติดตั้งโคมไฟมักอยู่ระหว่าง 1 ถึง 1.5 เมตร ทั้งนี้โคมไฟสนามโดยมากจะมาพร้อมกับระบบควบคุมแสงสว่างและนิยมใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์กับหลอดฮาโลเจนเป็นแหล่งกำเนิดแสง อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน หลอดไฟ LED ได้กลายมาเป็นทางเลือหนึ่งที่น่าสนใจในการเลือกซื้อโคมไฟสนามอย่างชาญฉลาดของผู้บริโภค

    Beam spread - หมายถึง มุมระหว่างลำแสง 2 ทิศทางในระนาบ ทั้งนี้ความเข้มของลำแสงมีค่าสูงสุดเท่ากับ เปอร์เซ็นต์ความเข้มที่กำหนด (ปกติเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์)

    Beam angle - หมายถึง มิติเชิงมุมของกรวยแสงซึ่งรายล้อมช่วงกลางลำแสงออกไปจนถึงมุมที่ความเข้มของลำแสงมีค่าเท่ากับ 50% ของค่าสูงสุด (แหล่งกำเนิดแสงในที่นี้คือหลอดไฟ)

    >Color Rendering Index (CRI) - หมายถึง การวัดค่าความถูกต้องของสีชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ค่า CCT ของแหล่งกำเนิดแสงแต่ละค่าจะให้แสงสีต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับค่า CCT ของแหล่งกำเนิดแสงอ้างอิง หลอดไฟที่มีค่า CRI สูงจะให้แสงได้ดีกว่าหลอดไฟที่มีค่า CRI ต่ำ ในระดับความสว่างที่เท่ากันหรือต่ำกว่า ดังนั้นจึงไม่ควรนำหลอดไฟที่มีค่า CCT และค่า CRI ต่างกันมาใช้งานร่วมกัน หรืออาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ในการเลือกซื้อหลอดไฟ ผู้บริโภคควรพิจารณาทั้งค่า CCT และค่า CRI ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน

    Correlated Color Temperature (CCT) – หมายถึง ค่าที่แสดงโทนอุ่นหรือโทนเย็นของแสง มีหน่วยวัดเป็น องศาเคลวิน (°K) หลอดไฟที่มีค่า CCT ต่ำกว่า 3,200 °K จะให้แสงสีชมพูซึ่งจัดเป็นแสงโทนอุ่น ส่วนหลอดไฟที่มีค่า CCT สูงกว่า 4,000 °K จะให้แสงสีฟ้า-ขาวซึ่งจัดเป็นแสงโทนเย็น

    Classes of protection - โคมไฟชนิดต่างๆ มีคลาสการป้องกันที่แตกต่างกันออกไปตามการออกแบบและวิธีการใช้งาน ทั้งนี้คลาสการป้องกันแบ่งออกเป็น 3 อันดับ อ้างอิงตามมาตรการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด ได้แก่ Class I: สำหรับโคมไฟที่มาพร้อมกับสายดิน สัญลักษณ์นี้จะแสดงอยู่บริเวณขั้วของหลอดไฟ Class II: สำหรับโคมไฟที่มีฉนวนป้องกันเพิ่มเติมแต่ไม่มีสายดิน และ Class III: สำหรับโคมไฟชนิดที่ใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำเป็นพิเศษ

    Cove luminaires – โคมไฟหลืบจะได้รับการติดตั้งแบบซ่อนบริเวณมุมต่าง ๆ ของห้อง เช่น หลืบหรือซอกระหว่างผนังและเพดาน จึงให้แสงสว่างในลักษณะของแหล่งกำเนิดแสงโดยอ้อม บริเวณขอบเพดานที่ได้รับการติดตั้งโคมไฟแบบซ่อนจะสว่างขึ้นจากการกระจายแสง นอกจากนี้ในการออกแบบ เราสามารถติดตั้งโคมไฟหลืบบริเวณขอบเฟอร์นิเจอร์ได้อีกด้วย

    Cutoff Luminaire - หมายถึง โคมไฟที่มีค่าการกระจายแสงของหลอดไฟไม่เกิน 25 แคนเดลา ต่อ 1,000 ลูเมน (2.5 เปอร์เซ็นต์) ที่มุม 90° หรือมากกว่า เหนือ Nadir และไม่เกิน 100 แคนเดลา ต่อ 1,000 ลูเมน (10 เปอร์เซ็นต์) ที่มุม 80° หรือมากกว่า ในแนวตั้งเหนือ Nadir เกณฑ์ดังกล่าวครอบคลุมถึงมุมด้านข้างทุกมุมโดยรอบโคมไฟอีกด้วย

    >Degradation - หมายถึง การลดลงของฟลักซ์ส่องสว่างหรือค่าปริมาณแสงที่ปล่อยออกมาจากหลอดไฟ LED โดยปกติแล้วกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นช้ามากจนสังเกตเห็นได้เฉพาะหลอดไฟ LED เก่าที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนานเท่านั้น Degradation จะพิจารณาจากอายุการใช้งาน 50,000 ชั่วโมงของหลอดไฟ LED แม้เราสามารถใช้งานหลอดไฟ LED ได้นานเกิน 50,000 ชั่วโมง แต่กำลังส่องสว่างนั้นจะลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมการใช้งานที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น อุณหภูมิแวดล้อมที่มีค่าสูงก็สามารถเร่งกระบวนการเสื่อมสภาพให้เกิดเร็วขึ้นเช่นกัน

    Dark adaptation – หมายถึง กระบวนการปรับสภาพดวงตาให้เข้ากับความสว่างที่มีค่าน้อยกว่า 0.03 แคนเดลาต่อตารางเมตร (0.01 ฟุตแลมเบิร์ต) โดยประมาณ

    Degree of protection – โคมไฟชนิดต่าง ๆ จำเป็นต้องได้รับการออกแบบให้มีคุณสมบัติลดระดับการแทรกซึมของสิ่งแปลกปลอมทั้งที่เป็นของแข็ง (ฝุ่น) และความชื้น ระดับการป้องกันจะแสดงค่าด้วยรหัส IP ("มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำ") ที่ประกอบด้วยตัวเลขสองหลัก (ดูที่ตารางแสดง "ระดับการป้องกัน") ตัวเลขหลักที่หนึ่ง (เลข 1 ถึง 6) แสดงระดับการป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เป็นของแข็ง (ฝุ่น) ส่วนตัวเลขหลักที่สอง (เลข 1 ถึง 8) แสดงระดับการป้องกันน้ำ นั่นหมายความว่า โคมไฟที่มีระดับการป้องกันสูงจะมีระดับการแทรกซึมของสิ่งแปลกปลอมต่ำ ในกรณีที่ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งขาดไป ให้แทนที่ตัวเลขหลักนั้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ "X" ที่หมายถึง "ยังไม่ได้รับการทดสอบ"

    Diffuse - หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งใช้สำหรับกระจายแสงออกจากแหล่งกำเนิด

    Disability glar - หมายถึง แสงบาดตาซึ่งส่งผลลดทอนประสิทธิภาพการมองเห็นและทัศนวิสัย มักทำให้เกิดอาการไม่สบายตาร่วมด้วย

    Discomfort glare - หมายถึง แสงบาดตาซึ่งทำให้เกิดอาการไม่สบายตา แต่ไม่ได้รบกวนประสิทธิภาพการมองเห็นหรือทัศนวิสัยแต่อย่างใด

    Direct lighting - หมายถึง การให้แสงสว่างโดยตรง แสงจากโคมไฟจะส่องเข้ามาภายในห้องไปยังพื้นผิวหรือบริเวณที่ต้องการความสว่างได้โดยตรง(ดูเพิ่มเติมที่ Indirect lighting)

    Direct/indirect lighting - หมายถึง การใช้ประโยชน์จากแสงสว่างโดยตรงและโดยอ้อมภายในอาคารด้วยรูปแบบผสมผสานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป การจัดแสงในลักษณะนี้สามารถทำได้ด้วยการเลือกใช้โคมไฟที่ได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่อให้แสงสว่างโดยตรงร่วมกับโคมไฟที่ได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่อให้แสงสว่างโดยอ้อม อย่างไรก็ตามยังมีโคมไฟอีกหลายชนิดซึ่งสามารถให้แสงสว่างโดยตรงและโดยอ้อมพร้อมกันได้ในดวงเดียว ยกตัวอย่างเช่น โคมไฟแขวนเพดาน และ โคมไฟตั้งพื้น โดยทั่วไปแล้วแสงสว่างส่วนใหญ่ที่ส่องออกมาจากโคมไฟเหล่านี้จัดเป็น แสงสว่างโดยอ้อม (ส่องไปยังเพดานหรือผนัง) ในขณะที่แสงสว่างส่วนที่เหลือจัดเป็น แสงสว่างโดยตรง (ส่องไปยังพื้นใต้โคมไฟ)

    Downlight - ปัจจุบัน Downlight ได้กลายเป็นคำเรียกโคมไฟเพดานทรงกลมทั่วไปที่ได้รับการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง และ/หรือ ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับควบคุมการใช้งานแบบออปติคัล การติดตั้งโคมไฟดาวน์ไลต์มีทางเลือกตามความต้องการหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบถาวรหรือแบบหมุนเปลี่ยน ไปจนถึงแบบฝังซ่อนในเพดาน (โคมไฟดาวน์ไลต์แบบฝังฝ้า) หรือ แบบติดลอยบนเพดาน (โคมไฟดาวน์ไลต์แบบติดลอย) นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับการให้แสงสว่างภายในตู้หรือตู้โชว์อีกด้วย โคมไฟดาวน์ไลต์ได้รับการออกแบบเพื่อใช้งานทั่วไปร่วมกับหลอดฮาโลเจนแรงดันต่ำ หลอดฮาโลเจนแรงดันสูง หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ และหลอดเมทัลฮาไลด์

    Dynamic lighting - การจัดแสงในลักษณะที่เรียกว่า "ไดนามิก" คือ การจัดแสงให้มีคุณสมบัติปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้ภายในระยะเวลาหนึ่ง ตั้งแต่หนึ่งค่าขึ้นไป เช่น ความสว่าง สีของแสง หรือ ทิศทางของแสง (การปรับเปลี่ยนอาจเกิดขึ้นแบบแยกส่วนหรือเกิดขึ้นพร้อมกันก็ได้) ส่วนการจัดแสงสีต่าง ๆ แบบไดนามิกซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันทำได้โดยการผสมสี RGB ด้วยหลอดไฟ LED หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทั้งนี้เราสามารถตรวจสอบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้งานแบบไดนามิกได้ ผ่านระบบควบคุมซึ่งได้รับการติดตั้งโปรแกรมอย่างเหมาะสม

    DIALux - คือ ซอฟต์แวร์ซึ่งทางเราพัฒนาขึ้นด้วยความมุ่งมั่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วางแผนงานเกี่ยวกับแสงอย่างมืออาชีพ ทั้งยังเปิดให้ผู้ผลิตโคมไฟทุกรายสามารถใช้งานได้ฟรีอย่างเต็มรูปแบบ นี่คือซอฟต์แวร์โดยนักวางแผนเพื่อนักวางแผนอย่างแท้จริง ปัจจุบันซอฟต์แวร์นี้ได้รับความไว้วางใจจากนักวางแผนและนักออกแบบแสงหลายแสนคนทั่วโลกและทวีความเชื่อมั่นยิ่งขึ้นในทุกวัน

    >Efficacy - หมายถึง อัตราส่วนของแสงที่เปล่งออกมาต่อกำลังไฟฟ้าที่ใช้ หรือ ศักยภาพของระบบแสงสว่างในการให้ผลตามที่ต้องการ มีหน่วยวัดเป็น ลูเมนต่อวัตต์ (lm/W) ส่วนประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การวัดค่าชนิดหนึ่งซึ่งพิจารณาจากผลหรือประโยชน์ที่ได้จากเอาต์พุตเปรียบเทียบกับอินพุตของระบบ

    ENEC - ENEC คือ เครื่องหมายแสดงคุณภาพผ่านการทดสอบตามมาตรฐานความปลอดภัยแห่งสหภาพยุโรป ใช้สำหรับสินค้าโคมไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ หากต้องการได้รับเครื่องหมายนี้ ต้องนำสินค้าเข้ารับการทดสอบและผ่านการรับรองมาตรฐานจากสถาบันอิสระในสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ENEC เทียบเท่าได้กับ VDE หรือมาตรฐานการรับรองจากประเทศเยอรมัน สังเกตได้จากตัวเลข "10" ข้างเครื่องหมาย ENEC ที่สถาบันทดสอบระบุไว้ (ENEC ย่อมาจาก European Norm Electrical Certification)

    Escape sign luminaires - หมายถึง ป้ายแสดงวิธีการและเส้นทางหนีไฟที่มีโคมไฟส่องจากทางด้านหลัง เช่น ป้ายไฟแสดงทางออกฉุกเฉิน หรือ ป้ายไฟแสดงข้อมูลเพื่อความปลอดภัย ป้ายทั้งสองแบบจำเป็นต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพที่ DIN EN 1838 กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สีที่ใช้ ความสว่างของสีเขียว คอนทราสต์ของความสว่าง และความสูงของสัญลักษณ์ที่ใช้

    Facade lighting – หมายถึง แสงสว่างจากภายนอกอาคาร

     

    Fixture - หมายถึง ชุดประกอบโคมไฟในระบบแสงสว่าง ได้แก่ ส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อควบคุมแสงที่เปล่งออกมา เช่น แผ่นสะท้อนแสง (กระจกเงา) หรือ แผ่นหักเหแสง (เลนส์) บัลลาสต์ ฝาครอบ และชิ้นส่วนติดยึด

     

    Floodlight - Floodlight หรือ โคมไฟสาดแสง ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานร่วมกับหลอดไฟที่มีกำลังไฟฟ้า (วัตต์) สูง ส่วนหลอดไฟที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำจะนำมาใช้เฉพาะจุดหรือพื้นที่การใช้งานขนาดเล็ก ประโยชน์ของโคมไฟสาดแสงสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร ได้แก่ การส่องสว่างอาคาร ส่วน

    การใช้งานหลักภายในอาคาร ได้แก่ การจัดแสงสำหรับเวทีการแสดง

     

    Footcandle (fc) - หมายถึง ความสว่างซึ่งเกิดขึ้นบนพื้นผิวที่ห่างจากจุดกำเนิดแสงแบบสม่ำเสมอ 1 ฟุต โดยที่แสงนั้นมีความเข้ม 1 แคนเดลา

     

    Footlambert – หมายถึง ความสว่างโดยเฉลี่ยของพื้นผิวที่เปล่งแสงหรือพื้นผิวที่สะท้อนแสงในอัตรา 1 ลูเมนต่อตารางฟุต

     

    Full Cutoff Luminaire - หมายถึง โคมไฟชนิดหนึ่งที่มีค่าการกระจายแสงเท่ากับ 0 แคนเดลา ต่อ 1,000 ลูเมน ที่มุม 90° หรือมากกว่า เหนือ Nadir และไม่เกิน 100 แคนเดลา ต่อ 1,000 ลูเมน (10 เปอร์เซ็นต์) ที่มุม 80° หรือมากกว่า ในแนวตั้งเหนือ Nadir เกณฑ์ดังกล่าวครอบคลุมถึงมุมด้านข้างทุกมุมโดยรอบโคมไฟอีกด้วย

    General lighting - เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การจัดแสงขั้นพื้นฐานหรือการจัดแสงพื้นหลัง (Basic or background lighting) – หมายถึง การจัดแสงในระดับสม่ำเสมอซึ่งช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมภายในห้องและกำหนดทิศทางได้ แต่ไม่มีวัตถุประสงค์พิเศษในการส่องเน้นพื้นที่ใด ๆ ภายในห้องเป็นการเฉพาะ แสงส่องสว่างทั่วไปช่วยให้มองเห็นสถาปัตยกรรม วัตถุ และบุคคลภายในห้องอย่างชัดเจนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการสร้างบรรยากาศที่ดี อาจเลือกใช้ไฟเสริมเพื่อให้แสงสว่างแบบส่องเน้นเฉพาะพื้นที่เพิ่มเติมได้

    (ดูเพิ่มเติมที่ Accent lighting, Room-related lighting)

     

    Glare - หมายถึง แสงความเข้มสูงซึ่งส่งผลลดทอนทัศนวิสัย หรือ แสงที่สว่างเกินการปรับสภาพของดวงตา แสงบาดตาส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อทัศนวิสัยโดยทำให้ประสิทธิภาพการมองเห็นถูกลดทอน (แสงบาดตาทำให้มองไม่ห็น) และก่ออาการไม่สบายตา (แสงบาดตาทำให้ไม่สบายตา) ส่วนความแตกต่างระหว่างแสงบาดตาจากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรงและแสงบาดตาจากการสะท้อน คือ แสงบาดตาจากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรงเกิดจากโคมไฟหรือพื้นผิวอื่น ๆ ที่ให้ความสว่างสูงเกินไป เช่น หน้าต่าง ในขณะที่แสงบาดตาจากการสะท้อนนั้นเกิดขึ้นโดยอ้อมผ่านพื้นผิวมันวาว เราสามารถป้องกันอันตรายอันเนื่องมาจากแสงบาดตาได้โดยการปิดแหล่งกำเนิดแสงสะท้อนและการลดการใช้งานวัสดุที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสง

    HID lamp - พลังงานที่ปล่อยออกมา (แสง) ในหลอดดิสชาร์จหรือหลอดปล่อยประจุ ถูกสร้างขึ้นโดยการเดินกระแสไฟฟ้าผ่านก๊าซ หลอดปล่อยประจุความเข้มสูง (HID) ได้แก่ หลอดปรอท หลอดเมทัลฮาไลด์ และหลอดโซเดียมความดันสูง ส่วนหลอดปล่อยประจุชนิดอื่น ๆ ได้แก่ หลอดไฟ LPS และหลอดฟลูออเรสเซนต์ นอกจากนี้หลอดไฟบางชนิดจะได้รับการเคลือบพื้นผิวภายในเพื่อแปลงพลังงานจากรังสีอัลตราไวโอเลตบางส่วนที่ปล่อยออกมาจากก๊าซให้กลายเป็นแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่นกัน

     

    High-Pressure Sodium (HPS) lamp - หมายถึง หลอดไฟ HID ชนิดหนึ่ง ผลิตแสงจากการแผ่รังสีของไอโซเดียม ที่ความดันย่อยค่อนข้างสูง (100 ทอร์) หลอดไฟ HPS ได้รับการนำไปใช้งานในฐานะ "แหล่งกำเนิดแสงแบบจุด" เป็นหลัก

     

    High Mast Lighting - หมายถึง ไฟส่องสว่างทั่วไปตามท้องถนนและทางหลวง ความสูงที่กำหนดในการติดตั้งโคมไฟคือ 15 เมตร (49.2 ฟุต) หรือต่ำกว่า นอกจากนี้ยังต้องใช้เสาขนาด 20 เมตร (65.6 ฟุต) หรือสูงกว่า หากต้องการติดตั้งไฟส่องสว่างบริเวณลานจอดรถขนาดใหญ่ ทางแยกต่างระดับทั้งรูปแบบทั่วไปและซับซ้อนไม่ว่าในเขตเมืองหรือชนบท และถนนขนาดหกเลนขึ้นไป

    Illuminance - หมายถึง ความหนาแน่นของฟลักซ์ส่องสว่างที่ตกกระทบบนพื้นผิว มีหน่วยวัดเป็น ฟุตแคนเดิล หรือ ลักซ์

     

    Illuminating Engineering Society of North America (I,S หรือ IESNA) - หมายถึง สมาคมวิชาชีพวิศวกรแสง อย่างไรก็ตาม สมาชิกสมาคมไม่ได้จำกัดเพียงวิศวกรแสงแต่ยังรวมถึงบุคคลอื่น ๆ จากบริษัทผู้ผลิต และผู้เกี่ยวข้องด้านการจัดแสงอย่างมืออาชีพอีกด้วย

     

    Incandescent lamp - ผลิตแสงจากการให้ความร้อนสูงแก่ไส้หลอดด้วยกระแสไฟฟ้า

     

    Indirect lighting – หมายถึง การให้แสงสว่างโดยอ้อม แสงจากโคมไฟจะส่องไปยังเพดานหรือผนังเฉพาะจุดแล้วสะท้อนกลับเข้ามาภายในห้อง หลอดไฟที่ใช้ร่วมกับการจัดแสงในลักษณะนี้จะได้รับการติดตั้งแบบซ่อนเพื่อป้องกันการมองเห็นและอยู่เหนือระดับสายตาเพื่อป้องกันการเกิดแสงบาดตา

    ทั้งนี้การใช้งานโดยทั่วไปมักเป็นการผสมผสานระหว่างแสงสว่างโดยอ้อมกับแสงสว่างโดยตรง หากเลือกใช้แสงสว่างโดยอ้อมเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ได้จะเป็นบรรยากาศแห่งความชวนฝันด้วยแสงที่นุ่มนวล อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องการประหยัดพลังงาน ควรเลือกใช้เพดานและผนังสีอ่อนเพื่อให้เกิดการสะท้อนแสงได้มากที่สุด เนื่องจากการใช้งานแสงสว่างโดยอ้อมภายในห้องมืดจำเป็นต้องใช้หลอดไฟที่มีกำลังไฟฟ้าสูง ส่งผลให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานสูงเช่นกัน

     

    Infrared radiation - หมายถึง รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงที่ยาวกว่าแสงที่สายตามองเห็นและอยู่ถัดจากช่วงขอบแสงสีแดง รังสีอินฟราเรดมีความยาวคลื่นอยู่ที่ 700 นาโนเมตร ถึง 1 มิลลิเมตร

     

    Intensity - หมายถึง ระดับหรือปริมาณที่ใช้บอกค่าพลังงานหรือแสงสว่าง

     

    International Dark-Sky Association (IDA, Inc.) - หมายถึง องค์การไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของท้องฟ้าที่มืดมิด ปลอดจากมลภาวะทางแสง ไปจนถึงความสำคัญของการจัดแสงภายนอกอาคารอย่างมีคุณภาพ

     

    Inverse-square law - หมายถึง ความสว่าง ณ จุดหนึ่ง ซึ่งแปรผันตรงกับ ความเข้มแสง (I) ของแหล่งกำเนิดแสงแบบจุด และแปรผกผันกับ กำลังสองของระยะทาง (d) ไปยังแหล่งกำเนิด สูตรที่ใช้ในการคำนวณ คือ E = I / d2

     

    IES file - หมายถึง ข้อมูลการวัดแสงในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของโคมไฟแต่ละดวงที่สร้างขึ้นตามมาตรฐาน IES LM-63-02 หรือ รูปแบบไฟล์มาตรฐานสำหรับใช้ถ่ายโอนข้อมูลการวัดแสงผ่านช่อง

    ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับการเผยแพร่ผ่านสมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแห่งอเมริกาเหนือ ไฟล์ IES นี้ได้รับความเชื่อถือและใช้กันอย่างแพร่หลายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านแสงซึ่งเลือกใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ออกแบบการจัดแสงอย่างชาญฉลาด ทั้งนี้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกำหนดรายละเอียดของการจัดแสงอีกด้วย

    ไม่มีคำศัพท์ในหมวดนี้
    kWh หรือ Kilowatt-hour - หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับวัดพลังงาน มีค่าเท่ากับ ปริมาณของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งาน 1 กิโลวัตต์ (1,000 วัตต์) ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง

    LED – ย่อมาจาก Light Emitting Diode หรือไดโอดเปล่งแสง

     

    Light Pollution - หมายถึง ผลกระทบเชิงลบใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากแสงประดิษฐ์ (มลภาวะทางแสง)

     

    Light Quality - หมายถึง การวัดค่าความสบายตาและความสามารถในการรับแสงของบุคคล

     

    Light Spill - หมายถึง การรั่วไหลของแสงส่วนเกินไปยังพื้นที่ข้างเคียงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตัวรับแสงภายในดวงตาอันละเอียดอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดขึ้นกับพื้นที่อสังหาริมทรัพย์และพื้นที่สำคัญทางนิเวศวิทยา

     

    Light Trespass - หมายถึง แสงสว่างซึ่งส่องไปยังพื้นที่ที่ไม่ต้องการหรือไม่จำเป็นต้องได้รับแสงนั้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แสงรั่วไหล หรือ แสงรุกล้ำ

     

    Lighting Controls - หมายถึง อุปกรณ์เปิดปิดโคมไฟหรืออุปกรณ์หรี่ไฟซึ่งควบคุมด้วยเซนเซอร์ตรวจจับแสง อุปกรณ์ดังกล่าวเปิดและปิดโคมไฟได้ตามความเหมาะสมโดยอ้างอิงจากระดับแสงธรรมชาติ นอกจากนี้โหมดการใช้งานขั้นสูงบางโหมดยังสามารถหรี่แสงหรือเพิ่มแสงอย่างช้า ๆ ได้อีกด้วย

    (ดูเพิ่มเติมที่ Adaptive controls)

     

    Low-Pressure Sodium (LPS) lamp - หมายถึง หลอดดิสชาร์จชนิดหนึ่ง ผลิตแสงจากการแผ่รังสีของไอโซเดียม ที่ความดันย่อยค่อนข้างต่ำ (ประมาณ 0.001 ทอร์) หลอดไฟ LPS ได้รับการนำไปใช้งานในฐานะ "แหล่งกำเนิดแสงแบบหลอด" แสงที่ได้เป็นแสงที่มีความยาวคลื่นเดียว

     

    Lumen - หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับวัดฟลักซ์ส่องสว่าง หรือ ฟลักซ์ที่ปล่อยออกมาจากจุดกำเนิดแสงแบบสม่ำเสมอภายในมุมตันหนึ่ง โดยที่แสงนั้นมีความเข้ม 1 แคนเดลา

     

    Luminaire - หมายถึง ฟิตติ้งทั้งหมดที่ใช้ติดตั้งหลอดไฟ รวมถึงส่วนประกอบทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในกรณีที่ต้องการติดยึด ใช้งาน และรักษาหลอดไฟ แม้ได้รับการเรียกขานอย่างแพร่หลายในฐานะ "หลอดไฟ" แต่ความจริงแล้ว โคมไฟทำหน้าที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง หน้าที่ของโคม

    ไฟ คือ ป้องกันรักษาหลอดไฟ กระจายแสงสว่าง และป้องกันไม่ให้เกิดแสงบาดตา

     

    Luminaire Efficiency - หมายถึง อัตราส่วนของแสงที่เปล่งออกมาจากโคมไฟเปรียบเทียบกับหลอดไฟที่ปิดทึบ

     

    Luminance - ณ จุดหนึ่ง เมื่อนำความเข้มของการส่องสว่างในทิศทางที่กำหนดซึ่งเกิดขึ้นจากองค์ประกอบของพื้นผิวโดยรอบจุดกำเนิดแสง หารด้วยพื้นที่ฉายองค์ประกอบบนระนาบที่ตั้งฉากกับทิศทางที่กำหนดจะได้ค่าความสว่างซึ่งมีหน่วยวัดเป็น แคนเดลาต่อหน่วยพื้นที่

     

    Lux - หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับวัดความสว่างของแสงที่ตกกระทบบนพื้นผิว โดยที่ 1 ลักซ์ มีค่าเท่ากับ 1 ลูเมนต่อตารางเมตร

     

    Luminaire Cutoff Classification - หมายถึง คำจำกัดความที่ใช้อธิบายการกระจายแสงของโคมไฟ นิยมใช้อย่างแพร่หลายเมื่อกล่าวถึงโคมไฟภายนอกอาคาร

     

    Louver luminaires - หมายถึง โคมไฟซึ่งได้รับการติดตั้งโดยการครอบด้วยตะแกรง จึงเรียกว่า โคมไฟหน้าตะแกรง ส่วนใหญ่มักใช้งานร่วมกับหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบยาวหรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ตะแกรงสามารถควบคุมการใช้งานแบบออปติคัลได้โดยการกระจายความเข้มแสง ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดแสงบาดตาได้ในขณะเดียวกัน


    Maintained factor - ปัจจัยการบำรุงรักษาถือเป็นพื้นฐานที่ใช้กำหนดตารางบำรุงรักษาระบบแสงสว่างทั้งหมดที่ได้รับการติดตั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานและประเภทของหลอดไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า และโคมไฟที่ใช้ ส่วนนักออกแบบ (และผู้ปฏิบัติงาน) ถือเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดและบันทึกปัจจัยการบำรุงรักษา สูตรคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นในการติดตั้ง คือ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง = ค่าบำรุงรักษา / ค่าปัจจัยการบำรุงรักษา นอกจากนี้ ข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวแปรแสงจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานด้านแสงสว่างแห่งสหภาพยุโรป ได้แก่ DIN EN 12464-1 เช่น การพิจารณาระดับความส่องสว่างให้ตรวจสอบค่าบำรุงรักษา เป็นต้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวต้องไม่มากนัก หมายความว่า ปัญหาอันเนื่องมาจากตัวแปรแสงต้องไม่เกิดขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหลอดไฟ โคมไฟ ผนัง และเพดาน อาจเสื่อมสภาพจากอายุการใช้งานและความสกปรก จึงต้องนำค่าใช้จ่ายที่ได้รับการบันทึกไว้แต่แรกติดตั้งระบบแสงสว่างมาใช้ งบประมาณในส่วนนี้จึงลดลงไปเรื่อย ๆ เมื่ออายุการใช้งานเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ระบบแสงสว่างทำงานได้นานขึ้นโดยไม่ต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาเพิ่มเติม ค่าติดตั้งจึงต้องสูงขึ้นตามลำดับ แต่จะสูงขึ้นเท่าใดนั้นให้พิจารณาจากปัจจัยการบำรุงรักษาเป็นสำคัญ

    Mercury lamp - หมายถึง หลอดไฟ HID ชนิดหนึ่ง ผลิตแสงจากการแผ่รังสีของไอปรอท

    Metal-halide lamp - หมายถึง หลอดไฟ HID ชนิดหนึ่ง ผลิตแสงจากการแผ่รังสีของไอเมทัลฮาไลด์

    Mounting height – หมายถึง ความสูงของ Fixture หรือหลอดไฟเหนือพื้นดิน

    Nadir - หมายถึง จุดจุดหนึ่งบนทรงกลมท้องฟ้าซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดเหนือศีรษะ (Zenith) และอยู่ใต้ผู้สังเกตโดยลากเส้นระหว่างจุดในแนวตั้งฉากกับพื้นโลก

     

    Non cutoff Luminaire - หมายถึง โคมไฟที่มีค่าการกระจายแสงของหลอดไฟแบบไม่จำกัดแคนเดลา แม้เกินค่าสูงสุดของแคนเดลาก็ตาม

    Optic - หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆ ของโคมไฟ เช่น แผ่นสะท้อนแสง แผ่นหักเหแสง ตัวป้องกัน หรือ ส่วนประกอบทั้งหมดที่ทำหน้าที่ให้แสงสว่าง

    Passive Infrared Occupancy Sensors - หมายถึง ระบบควบคุมไฟส่องสว่างชนิดหนึ่งที่ใช้ลำแสงอินฟราเรดในการตรวจจับความเคลื่อนไหว เมื่อลำแสงอินฟราเรดตรวจจับการเคลื่อนไหวได้ เซนเซอร์จะเปิดไฟทันที ในเวลาต่อมาหากไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ ภายหลังพ้นช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เซนเซอร์จะปิดไฟ

     

    PAR lamps - หมายถึง หลอดไฟสะท้อนแสงแบบกระจกอัดขึ้นรูป หลอดไฟพาร์มีให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ หลอดไส้ หลอดฮาโลเจนแรงดันสูงขั้วเกลียว E27 และ หลอดเมทัลฮาไลด์ขั้วเซรามิก ทั้งนี้การเลือกใช้ให้พิจารณาจากความเหมาะสมกับการกระจายของลำแสงแบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่หลอดไฟชนิดนี้มักนำมาใช้เพื่อการส่องสว่างภายนอกอาคาร (PAR ย่อมาจาก Parabolic Aluminized Reflector)

     

    Pedestal luminaires - หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไฟเสา (Pillar lights) จัดเป็นโคมไฟสำหรับใช้งานภายนอกอาคารที่มีรูปทรงคล้ายกับ โคมไฟหัวเสา (Post-top luminaires) ซึ่งติดตั้งบนผนังหรือหัวเสา ทั้งยังมีรูปแบบการให้แสงคล้ายคลึงกันอีกด้วย

     

    Photometry - หมายถึง การวัดค่าเชิงปริมาณ ใช้สำหรับวัดระดับแสงและการกระจายแสง

     

    Photoelectric lighting controllers - หมายถึง อุปกรณ์ควบคุมไฟส่องสว่างชนิดหนึ่งซึ่งทำงานด้วยเซนเซอร์วัดแสง จึงเปิดและปิดไฟอย่างน้อยหนึ่งดวงได้แบบอัตโนมัติเมื่อค่าแสงธรรมชาติ (หรือ แสงประดิษฐ์) ถึงระดับที่กำหนดไว้ เซนเซอร์วัดแสงแบบติดตั้งในตัวดังกล่าวจะทำงานในลักษณะตรวจติดตามความสว่าง ดังนั้นความไวจึงปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เช่น ความส่องสว่างของแสงภายนอกอาคารจะมีค่าตั้งแต่ 2 ถึง 2,000 ลักซ์

     

    Power consumption – หมายถึง การใช้พลังงาน หรือ พลังงานไฟฟ้าในหน่วยวัตต์ (W) ที่หลอดไฟหรือบัลลาสต์ใช้ในการให้แสงสว่าง (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กำลังไฟ หรือ กำลังวัตต์) ในกรณีของหลอดดิสชาร์จแรงดันต่ำและแรงดันสูง กำลังไฟของระบบ (พลังงานที่ใช้) เท่ากับ กำลังไฟของหลอดไฟบวกการใช้พลังงานของบัลลาสต์

     

    PC หรือ Polycarbonate - หมายถึง พอลิเมอร์เทอร์โมพลาสติกแบบใสชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติทางแสงและคุณสมบัติทางไฟฟ้าในระดับดี ดังนั้น วัสดุชนิดนี้จึงได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมแสงสว่างอย่างแพร่หลายโดยนำมาผลิตเป็น Optic หรือ ส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ให้แสงสว่าง

     

    PMMA หรือ Polymethyl methacrylate - หมายถึง พอลิเมอร์เทอร์โมพลาสติกแบบใสชนิดหนึ่ง มักนำมาใช้ผลิตโคมไฟภายนอกอาคาร วัสดุมีคุณสมบัติส่งเสริมความคมชัดของแสง ความแข็งของพื้นผิว ความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ตลอดจนความสามารถในการคงรูปได้เป็นอย่างดี

    ไม่มีคำศัพท์ในหมวดนี้

    Recessed ceiling luminaires – หมายถึง โคมไฟแบบฝังฝ้าเพดาน เหมาะสำหรับการติดตั้งภายในโพรงหรือช่องว่างบนเพดาน ส่วนใหญ่โคมไฟชนิดนี้จะติดตั้งแบบซ่อนไม่ให้เห็นแหล่งกำเนิดแสงโดยที่หน้าโคมไฟมักอยู่ชิดกับเพดาน

    (ดูเพิ่มเติมที่ Surface-mounted ceiling luminaires, Pendant luminaires)

     

    Reflector - หมายถึง Optic ชนิดหนึ่งที่ควบคุมแสงผ่านการสะท้อน (โดยใช้กระจกเงา)

     

    Refractor - หมายถึง Optic ชนิดหนึ่งที่ควบคุมแสงผ่านการหักเห (โดยใช้เลนส์)

     

    Recessed ground luminaires - โดยทั่วไปโคมไฟฝังพื้น หมายถึง โคมไฟสาดแสงที่ส่องขึ้นด้านบนและมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นแบบให้ลำแสงมุมแคบหรือมุมกว้าง ไปจนถึงแบบที่มีเส้นโค้งการกระจายแสงสมมาตรหรืออสมมาตร โคมไฟฝังพื้นส่วนใหญ่จะได้รับการติดตั้งภายนอกอาคารแต่ในปัจจุบันก็มีการนำมาใช้ให้แสงสว่างภายในอาคารมากขึ้น เช่น การทำเครื่องหมายบอกเส้นทาง หรือ การให้แสงขับเน้นบริเวณโถงทางเดินหรือห้องน้ำ เป็นต้น เมื่อพิจารณาลักษณะการติดตั้งจะพบว่า โคมไฟชนิดนี้ต้องทนต่อน้ำหนักของคนเดินเท้าและล้อยานพาหนะได้ รวมถึงมีระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำที่สูง (IP65 หรือ IP67) ส่วนเทคโนโลยีการผลิตแผ่นสะท้อนแสงที่เหมาะสมก็สามารถเพิ่มอัตราส่วนของแสงที่เปล่งออกมาได้เช่นกัน

     

    Reflector lamps – หมายถึง หลอดไฟสะท้อนแสง หรือ หลอดไฟที่สามารถสะท้อนแสงได้ในตัว (กล่าวคือ เป็นหลอดแก้วที่ได้รับการเคลือบสารสะท้อนแสงไว้ภายใน) สามารถควบคุมแสงและกำหนดการกระจายของลำแสงได้เป็นอย่างดี ในขณะที่หลอดไส้แบบธรรมดา หลอดไฟพาร์ และหลอดฮาโลเจนแรงดันต่ำ-แรงดันสูง ต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงเพิ่มเติม

    Skyglow - หมายถึง แสงสว่างที่กระจัดกระจายอยู่บนท้องฟ้า เกิดขึ้นจากแสงสว่างที่กระจัดกระจายออกจากแหล่งกำเนิดแสงบนพื้นดิน

     

    Spotlight – หมายถึง Fixture ชนิดหนึ่งที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้แสงสว่างเฉพาะพื้นที่เล็ก ๆ ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดีเท่านั้น

     

    Semi-cylindrical illuminance – หมายถึง ความส่องสว่างกึ่งทรงกระบอก (Ehz) หรือ ปริมาณความส่องสว่างในแนวตั้งซึ่งตกกระทบพื้นผิวกึ่งทรงกระบอก Ehz มีหน่วยวัดเป็นลักซ์ ทั้งยังถือเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งใช้ระบุวัตถุที่เข้ามาใกล้ ยกตัวอย่างเช่น ลานจอดรถภายนอกอาคาร ค่าความส่องสว่างกึ่ง

    ทรงกระบอกที่ควรเป็น คือ 1.5 – 5 ลักซ์ (วัดที่ความสูงจากพื้นดิน 1.5 เมตร)

     

    Spots - สปอตไลต์ คือ โคมไฟที่ใช้สำหรับส่องสว่างให้ทิศทางเป็นหลัก สามารถนำมาใช้ร่วมกับหลอดไฟสะท้อนแสงหรือจะออกแบบให้แผ่นสะท้อนแสงรวมอยู่ในตัวโคมไฟก็ได้ การติดตั้งสปอตไลต์สามารถทำได้ทั้งบนเพดาน ผนัง รางปลั๊กไฟ สายไฟ หรือ แท่งต่าง ๆ โดยปกติมักติดตั้งให้หมุนได้และใช้ขั้วแบบเกลียว ทั้งนี้การใช้งานสปอตไลต์ภายนอกอาคารต้องเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำสูงกว่าการใช้งานภายในอาคาร นอกจากนี้ยังมีสปอตไลต์แบบปักดินให้เลือกใช้อีกด้วย

     

    Surface-mounted ceiling luminaires - โคมไฟชนิดนี้ใช้สำหรับติดตั้งแบบแขวนเพดานโดยตรง ผู้ใช้งานจะมองเห็นตัวโคมไฟอย่างชัดเจนเนื่องจากถือเป็นของส่วนหนึ่งที่ใช้ในการตกแต่งห้อง ยิ่งไปกว่านั้นยังจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการออกแบบภายในได้อีกด้วย

    (ดูเพิ่มเติมที่ Recessed ceiling luminaires, Pendant luminaires)

     

    Semi cutoff Luminaire – หมายถึง โคมไฟที่มีค่าการกระจายแสงของหลอดไฟไม่เกิน 50 แคนเดลา ต่อ 1,000 ลูเมน (5 เปอร์เซ็นต์) ที่มุม 90° หรือมากกว่า เหนือ Nadir และไม่เกิน 200 แคนเดลา ต่อ 1,000 ลูเมน (20 เปอร์เซ็นต์) ที่มุม 80° หรือมากกว่า ในแนวตั้งเหนือ Nadir เกณฑ์ดังกล่าวครอบคลุมถึงมุมด้านข้างทุกมุมโดยรอบโคมไฟอีกด้วย

    Task area lighting - หมายถึง การจัดแสงภายในพื้นที่ทำงานอย่างเหมาะสมต่อพื้นที่แต่ละจุดรวมถึงบริเวณโดยรอบ ทางเลือกที่แนะนำในการจัดแสงลักษณะนี้ อ้างอิงตามมาตรฐาน DIN EN 12464-1 "การจัดแสงสำหรับสถานที่ทำงานภายในอาคาร" ได้แก่ แสงใช้งาน ในกรณีที่สถานที่ทำงานมีข้อกำหนดด้านการมองเห็นและการใช้แสงแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด หากต้องการจัดแสงภายในพื้นที่ทำงานแบบคงที่ สิ่งที่จำเป็นต้องทราบล่วงหน้า คือ ตำแหน่งที่แน่ชัดของสถานที่ทำงานและพื้นที่ทำงานภายในห้องก่อนการติดตั้งไฟส่องเน้นบนพื้นผิวที่ใช้งาน (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ โปรดดูที่ ไฟส่องเน้นบนพื้นผิวที่ใช้งาน และ Task area)

     

    Task lighting - หมายถึง แสงใช้งาน ซึ่งได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อเสริมความสมบูรณ์แก่ไฟส่องสว่างทั่วไปและตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของกิจกรรมที่ต้องใช้การมองเห็นซึ่งจัดขึ้นตามจุดต่าง ๆ ภายในห้องได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างหนึ่งคือ แสงจากกระจกห้องน้ำ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ไฟอ่านหนังสือข้างเก้าอี้เท้าแขน ทั้งนี้ในโลกของการทำงาน แสงสำหรับทำกิจกรรมพิเศษที่ต้องใช้การมองเห็นจะมาจากไฟส่องสว่างทั่วไปในสถานที่ทำงานและไฟส่องเน้นบนพื้นผิวที่ใช้งาน

     

    Task area - หมายถึง พื้นที่ทำกิจกรรมที่ต้องใช้การมองเห็น พื้นที่ทำงานนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่ทำงาน ค่าความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ทำงานจะเป็นไปตามมาตรฐาน DIN EN 12464-1 กล่าวคือ ค่าความส่องสว่างสำหรับบริเวณโดยรอบต่ำกว่าค่าความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ทำงานได้หนึ่งระดับ

     

    Total Harmonic Distortion (THD) - หมายถึง การวัดความผิดเพี้ยนของสัญญาณชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับประเมินพลังงานที่เกิดขึ้นบนฮาร์มอนิกของสัญญาณต้นฉบับ โดยระบุค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ของแอมพลิจูด

    Ultrasonic Occupancy Sensors - หมายถึง ระบบควบคุมไฟส่องสว่างชนิดหนึ่งที่ใช้จังหวะของคลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจจับความเคลื่อนไหวโดยการรับรู้เชิงลึก (ความใกล้ไกล) เมื่อความถี่ของคลื่นเสียงเปลี่ยนไป เซนเซอร์จะเปิดไฟทันที ในเวลาต่อมาหากไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ ภายหลังพ้นช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เซนเซอร์จะปิดไฟ

     

    Underwater floodlights - หมายถึง โคมไฟสาดแสงและโคมไฟชนิดอื่น ๆ ที่สามารถใช้งานใต้น้ำได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยในการใช้งาน โคมไฟใต้น้ำจึงต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น โคมไฟสาดแสงใต้น้ำและโคมไฟสระว่ายน้ำทั้งแบบฝังและแบบติดยึดจะใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำเป็นพิเศษเพื่อป้องกันอันตรายอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดูด การติดตั้งโคมไฟดังกล่าวจึงจำเป็นต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้าขั้นพื้นฐานแบบแยกหรือแบบรวมร่วมด้วยเสมอ ดังนั้นขอแนะนำให้ติดตั้งโคมไฟสำหรับการใช้งานเฉพาะด้านเหล่านี้โดยผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากการติดตั้งและการใช้งานอย่างปลอดภัยจะอยู่ภายใต้กฎความปลอดภัยฉบับพิเศษ

     

    Uniform lighting - หากให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของกิจกรรมที่ต้องใช้การมองเห็น สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาไม่เพียงแค่ระดับแสงที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระดับความสม่ำเสมอที่เหมาะสมต่อการกระจายความสว่างอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น บนถนนบางสาย ตัวชี้วัดความสม่ำเสมอที่ต้องตรวจสอบคือความสว่าง แต่การใช้งานอื่นทั้งหมดจะตรวจสอบความส่องสว่าง เป็นต้น

     

    Uplight - การใช้งานที่พบเห็นได้โดยไปทั่วของอัปไลต์ คือ โคมไฟมาตรฐานหรือโคมไฟติดผนัง แสงส่วนใหญ่ของโคมไฟชนิดนี้จะส่องขึ้นไปบนเพดานเพื่อให้สะท้อนกลับเข้ามาภายในห้อง การให้แสงจึงเป็นไปในรูปแบบของแสงโดยอ้อม อัปไลต์ที่ได้รับการติดตั้งส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ให้แสงสว่างโดยตรง บริเวณด้านล่างของแผ่นสะท้อนแสงจะมีลักษณะโปร่งแสง

     

    Ultraviolet (UV) - หมายถึง รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงที่สั้นกว่าแสงที่สายตามองเห็น

     

    Veiling luminance – หมายถึง ความสว่างที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดแสงซึ่งอยู่ภายในขอบเขตการมองเห็นและซ้อนทับอยู่บนภาพที่ปรากฏในดวงตา จึงส่งผลให้คอนทราสต์ลดลงและมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น

     

    Visibility - เป็นสิ่งที่รับรู้ได้ผ่านดวงตาและขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการมองเห็น ทัศนวิสัยที่ดีคือเป้าหมายของการจัดแสงในเวลากลางคืน

     

    Visual comfort – หมายถึง ความสบายตาในการมองเห็น ใช้อธิบายถึงความรู้สึกเป็นสุขที่บุคคลได้รับจากแสงสว่างภายในห้อง สิ่งนี้ถือเป็นตัวชี้วัดคุณภาพแสงที่สำคัญในแง่ของการแสดงสีและการกระจายความสว่างอย่างกลมกลืน ทั้งนี้การดำเนินงานติดตั้งไฟส่องสว่างต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ไฟส่องสว่างที่ดีไม่ควรส่งผลให้สายตาเกิดอาการพร่ามัว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ความสบายตาจะมาพร้อมกับการติดตั้งที่ดีเสมอ

     

    Visual performance – หมายถึง ประสิทธิภาพการมองเห็น ซึ่งพิจารณาจากระดับความคมชัดในการมองเห็นของดวงตาและความไวต่อแสงในการแยกความแตกต่างของความสว่าง-ความมืด ทั้งนี้ระยะเวลาถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการมองเห็นได้ ยกตัวอย่างเช่น ระยะเวลาจำกัดที่ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องใช้ในการแยกความแตกต่างของความสว่าง รูปร่าง สี และรายละเอียดต่าง ๆ ของวัตถุ (ความเร็วในการรับรู้)

     

    Visual task - ข้อจำกัดของกิจกรรมที่ต้องใช้การมองเห็น คือ คอนทราสต์ของความสว่าง/ความมืด คอนทราสต์ของสี ขนาดรายละเอียดของวัตถุ และ ความเร็วในการรับรู้คอนทราสต์ ยิ่งกิจกรรมที่ต้องใช้การมองเห็นยากขึ้นเท่าใด ระดับแสงที่ต้องใช้ก็จะสูงขึ้นเท่านั้น

     

    Volt (V) - หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (EMF) หรือศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุด โดยที่ ศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ หมายถึง ค่าที่ใช้ในการผลักกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ให้ไหลผ่านตัวต้านทานขนาด 1 โอห์ม

    Wall luminaires - โคมไฟติดผนังได้รับการเลือกใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับตามความต้องการใช้งาน หากเลือกใช้โคมไฟติดผนังเพื่อให้แสงสว่างภายในอาคาร โคมไฟชนิดนี้จะทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมของระบบไฟส่องสว่างทั่วไปในฐานะ แหล่งกำเนิดแสงขับเน้น โดยทั่วไปแล้วจัดอยู่ใน "กลุ่ม" ของโคมไฟที่ได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากเลือกใช้โคมไฟติดผนังเพื่อให้แสงสว่างภายนอกอาคาร โคมไฟชนิดนี้จะติดตั้งอยู่บริเวณประตูหน้าและพื้นที่โดยรอบอาคาร

     

    Working plane - หมายถึง ระนาบการทำงาน เป็นคำที่ใช้เพื่อแสดงถึงระนาบแนวนอนหรือแนวตั้งที่จะให้แสงประดิษฐ์ส่องสว่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้แสงและมาตรฐานกำหนดจุดอ้างอิงทางคณิตศาสตร์ เช่น 0.75 เมตร เหนือระดับพื้น ที่ใช้ประเมินความส่องสว่าง

     

    Watt (W) - หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับวัดพลังงาน ในเชิงฟิสิกส์ 1 วัตต์ มีค่าเท่ากับ พลังงาน 1 จูล ที่ถูกถ่ายโอนหรือกระจายออกไป ภายในระยะเวลา 1 วินาที ทั้งนี้สูตรที่ใช้คำนวณกำลังไฟฟ้า คือ วัตต์ = โวลต์ x แอมป์ x ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า

     

    Wavelength - หมายถึง ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่ต่อเนื่องกันตามลำดับบนสัญญาณคลื่นแบบสม่ำเสมอ โดยที่สัญญาณจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการแผ่กระจายของคลื่นและใช้เฟสเดียวกันในการแกว่ง

    ไม่มีคำศัพท์ในหมวดนี้
    ไม่มีคำศัพท์ในหมวดนี้

Back to top