สังเกตขั้วหลอดสักนิด ก่อนซื้อหลอดไฟ
เคยไหม? ซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยน เเต่ดันใส่ไม่ได้ เพราะขั้วหลอดไฟไม่เหมือนกับของเดิมที่เคยใช้ ทั้งที่รูปทรงของหลอดไฟ อาจมีลักษณะคล้ายกัน จนทำให้เราไม่ทันสังเกต พอนำมาใส่แล้วจึงใส่ไม่ได้ หลอดไฟเปิดไม่ติด ทำให้อาจต้องเสียเวลา และเสียเงินเพิ่มในการซื้อหลอดใหม่มาเปลี่ยน
วันนี้ เลคิเซ่ (LeKise) จึงขอแชร์ความรู้เรื่องขั้วหลอดไฟ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการซื้อขั้วหลอดไฟผิด มาฝากทุกคนกันค่ะ เพื่อให้เข้าใจและสามารถเลือกซื้อขั้วหลอดไฟกันได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเปลี่ยนหรือเสียเงินซื้อเพิ่มอีกต่อไป สำหรับขั้วหลอดไฟนั้นมีหลายประเภท เเต่ละประเภทใช้งานกันต่างออกไป
ขั้วหลอดไฟที่นิยมใช้กันในประเทศไทย แยกออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1. ขั้วหลอดไฟแบบเขี้ยว ลักษณะเป็นแง่งเหมือนเขี้ยว เป็นล็อคที่ต้องใช้หลอดไฟแบบเขี้ยวมาเกี่ยวกันถึงจะทำงานได้ ประกอบไปด้วย
- ขั้วเขี้ยว G13 คือขั้วหลอดไฟนีออน โดยจะนำมาใช้กับหลอดนีออน T8, T5 (ฟลูออเรสเซนต์)
- ขั้วเขี้ยว GU10 มีลักษณะขาบิดล็อคได้ ขั้วแบบเขี้ยว มักพบในแบบถ้วย MR16 ซึ่งหลอดดังกล่าวนิยมนำมาใช้กับ โคมไฟติดราง, โคมไฟตกแต่ง, โคมไฟส่องสินค้า, โคมไฟส่องเครื่องประดับ เนื่องจากหลอดไฟประเภทนี้ให้แสงเป็นประกาย โดดเด่น แสงสวยงามเป็นธรรมชาติ
- ขั้วเขี้ยว GU5.3 เป็นขั้วที่ใช้กันมากในหลอดประเภทฮาโลเจน นิยมใช้ส่องตู้โชว์
2. ขั้วหลอดไฟแบบเกลียว : ลักษณะของขั้วหลอดแบบนี้คือเป็นเกลียวหมุน ประกอบไปด้วย
- ขั้วเกลียว E14 หรือ “ขั้วเล็ก” นิยมใช้กับหลอดรูปทรงจำปา หรือ ทรงกระบอกเล็ก ปิงปอง, หลอดศาลเจ้า, หรือทรงกระบอกเล็ก
- ขั้วเกลียว E27 หนึ่งในขั้วหลอดไฟที่นิยมใช้มากที่สุด ส่วนใหญ่พบว่าใช้ในหลอด compact fluorescence ทั่วไป และมีตั้งแต่หลอดไส้ ไปจนถึง LED
- ขั้วเกลียว E40 เป็นขั้วหลอดเกลียวเหมือนกันกับ ขั้ว E27 แต่มีขนาดใหญ่กว่า มักจะนิยมใช้กับหลอดที่มีกำลังวัตต์สูง เพื่อรองรับขนาดของหลอดที่ใหญ่ขึ้น มักใช้กับหลอด “High Watt” ที่มีกำลังวัตต์มากกว่า 40W ขึ้นไป ซึ่งจะพบเห็นได้ในโคมฟลัดไลท์ หรือ โคมสปอร์ตไลท์
หากเรามีความรู้เรื่องขั้วหลอด และสามารถเลือกขั้วหลอดได้ถูกต้อง ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและช่วยรักษาหลอดไฟให้ใช้งานได้อย่างยาวนานอีกด้วย