Lighting Design คือ? ทำไมถึงสำคัญ ?
“แสงสว่าง” อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ที่ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนเท่านั้น
แต่ยังมีประโยชน์ในด้านการสร้าง Mood and Tone ให้กับสถานที่นั้นด้วย จึงทำให้ ‘การออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design)
กลายเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการติดตั้งระบบแสงทั้งภายใน และภายนอกอาคาร ซึ่งนอกจากแสงสว่างที่ได้จะต้องเหมาะสมกับ
สไตล์ของสถานที่แล้ว ยังต้องตอบโจทย์การใช้งานอีกด้วย ในการก่อสร้างอาคารหรือสถานที่ต่างๆ มักมีการออกแบบแสงเพื่อ
ให้เหมาะสมต่อสถานที่นั้นๆ โดยเน้นว่าแสงที่ออกแบบจะต้องเข้ากับสถาปัตยกรรม หรืออาคาร รวมถึงยังต้องเหมาะกับการ
ใช้งานภายในพื้นที่ ในแต่ละสัดส่วนอีกด้วย
การออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) นอกจากจะช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับสถานที่นั้นแล้ว ยังสามารถจำลอง
ภาพของแสงสว่างในพื้นที่ต่างๆ ภายในอาคาร ให้เราเห็นภาพก่อนการติดตั้งจริงได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ เพื่อลดความ
ผิดพลาดของการทำงาน และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
ความหมายของการออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) คือ กระบวนการออกแบบการคิดคำนวณ ตลอดจนการ
วางแผนเกี่ยวกับระบบแสงสว่าง เพื่อหาค่าความส่องสว่างที่เพียงพอต่อการใช้งาน รวมถึงมาตรฐานแสงสว่างในแต่ละพื้นที่
ในกรณีที่สถานที่นั้นๆ มีการกำหนดแสงที่ต้องใช้เอาไว้อย่างชัดเจน โดยการออกแบบแสงจะต้องพิจารณาในหลายปัจจัย
ไม่ว่าจะเป็นขนาดของพื้นที่ ที่ต้องออกแบบ การตกกระทบ และการสะท้อนระหว่างพื้น ผนัง เพดาน ตลอดจนการจัดวาง
ระบบแสงหลักและแสงรอง เพื่อให้เกิดความสว่างที่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดไว้
โดยการออกแบบแสงสว่างในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้หลักๆ ทั้งหมด 2 วิธี ดังนี้
1. วิธีออกแบบแสงสว่างแบบ IES (Illumination Engineering Society)
เป็นวิธีการออกแบบแสงสว่างที่อยู่ภายใต้มาตรฐาน BS หรือ British Standards Exposure lndex โดยรายละเอียดของ
วิธีนี้ค่อนข้างที่จะซับซ้อน มีทั้งเรื่องของการหาค่าตัวเลขความส่องสว่าง และตัวอักษรที่หมายถึงองค์ประกอบของตำแหน่ง
การวางแสงสว่างที่ต่างกันอย่าง W = Working Plane, S = Switch และ F = Floor อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ต้องลง
รายละเอียดค่อนข้างมาก ระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณจึงอาจนานตามไปด้วย
2. วิธีออกแบบแสงสว่างแบบคำนวณอัตราส่วนของห้อง
สำหรับการออกแบบแสงจากการคำนวณอัตราส่วนของห้อง เป็นขั้นตอนที่มีความรวบรัดกว่าการออกแบบแสงแบบ IES
ซึ่งวิธีการนี้ถูกเสนอโดย CIE International Commission on Illumination ที่กำหนดให้หาจำนวนโคมที่ต้องใช้ภายในพื้นที่
รวมไปถึงระยะห่าง และการเขียนแผนผังการติดตั้งจากการคำนวณอัตราส่วนห้อง โดยจุดประสงค์หลักของการใช้วิธีการนี้
นอกจะเป็นวิธีที่รวบรัดแล้ว ยังประหยัดเวลา อีกทั้งยังช่วยให้สามารถกำหนดกำลังไฟฟ้าที่ต้องใช้ไม่ให้เกินค่าที่กฎหมายกำหนด
ได้ตรงตามมาตรฐาน จึงเหมาะสำหรับการออกแบบในพื้นที่สำนักงาน หรือสถานที่ราชการที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับแสงสว่างเอาไว้
อย่างไรก็ตามการออกแบบแสงสว่าง ไม่ใช่เพียงแค่การคำนวณหาค่าแสงที่เหมาะสม แต่ยังมีเรื่องของความสวยงาม และ
การใช้งานเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้การออกแบบแสงสามารถแยกย่อยตามจุดประสงค์ของการติดตั้งได้ถึง 2 ระบบด้วยกัน
1. ระบบการให้แสงหลัก (Primary Lighting System)
สำหรับระบบการให้แสงหลัก เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบแสงสว่างเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการออกแบบ
ระบบสำหรับการใช้งานโดยแสงหลักเหล่านี้จะทำหน้าที่ให้ความส่องสว่าง จึงต้องมีการออกแบบให้เพียงพอต่อมาตรฐาน
การใช้งานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งการออกแบบแสงหลักก็สามารถแบ่งเป็นระบบย่อยได้ ดังนี้
-
แสงสว่างทั่วไป (General Lighting) การออกแบบให้แสงสามารถกระจายได้ทั่วบริเวณ เหมาะสำหรับพื้นที่ ที่ไม่ต้องการใช้แสงสว่างมากเกินไป หรือต้องการเน้นการประหยัดพลังงานเป็นหลัก
-
แสงสว่างเฉพาะที่ (Localized Lighting) การออกแบบที่ให้แสงสว่างเฉพาะพื้นที่ หรือเป็นพื้นที่ที่ต้องการใช้งานเท่านั้น ในภาพรวมจึงไม่มีแสงสว่างที่สม่ำเสมอกันเหมือนแบบแรก แต่ก็ยังคงช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานได้เช่นกัน
-
แสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไป (Local Lighting + General Lighting) การให้แสงสว่างแบบผสมผสานระหว่างแบบทั่วไป และเฉพาะที่ ซึ่งการให้แสงสว่างแบบนี้จะเหมาะกับงานที่ต้องการได้ความส่องสว่างสูง อย่างไรก็ตามจะต้องยอมรับถึงกำลังไฟฟ้าที่ใช้ และค่าไฟที่จะตามมาเช่นกัน
2. ระบบการให้แสงรอง (Secondary Lighting System)
ในส่วนของระบบการให้แสงรองก็เหมือนกับการใช้เป็นออฟชั่นเสริม ตอบสนองจุดประสงค์การออกแบบแสงเพื่อความสวยงาม
ซึ่งระบบแสงรองจะช่วยให้แสงที่ได้ ดึงดูดสายตาและอารมณ์
สำหรับระบบการให้แสงรอง สามารถแบ่งเป็นระบบย่อยได้ ดังนี้
-
แสงสว่างแบบส่องเน้น (Accent Lighting) เป็นการออกแบบแสงให้ส่องเน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง หรือใช้กับการส่อง
เน้นที่วัตถุ เพื่อดึงดูดสายตาให้เกิดความน่าสนใจ ส่วนมากจะใช้ไฟแบบสปอตไลท์ในการออกแบบแสงสว่างส่องเน้น -
แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) การออกแบบแสงสว่างให้เกิดบรรยากาศที่น่าสนใจ มักจะเจอได้ในรูปแบบ
ของการส่องไฟไปที่กำแพง หรือพื้น เพื่อสร้างรูปแบบต่าง ๆ จากแสงให้เกิดความสวยงาม -
แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting) นับว่าเป็นการออกแบบแสงที่พบได้บ่อย โดยเน้นไปทางความสวยงามของ
หลอดหรือโคมไฟ และใช้สำหรับตกแต่งเพื่อให้เป็นที่สนใจ -
แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting) การออกแบบแสงให้สัมพันธ์กับงานสถาปัตยกรรม เกิดลูกเล่น
ความสวยงาม สร้างอารมณ์จากแสงและเงา
สิ่งที่ควรคำนึงระหว่างการออกแบบแสงสว่าง
การคำนึงเรื่องออกแบบแสงสว่าง เพื่อให้ได้แสงที่สมบูรณ์และเหมาะสมกับสถานที่มากที่สุด
โดยหลักๆ จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้
-
ความสวยงาม VS การประหยัดไฟ
การออกแบบแสงสว่างมีจุดประสงค์หลัก ๆ คือการใช้งานที่เหมาะสม แต่เรื่องของความสวยงามและการประหยัดพลังงานก็
นับว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ออกแบบให้ความสำคัญ ซึ่งเราอาจจะเห็นได้ว่าการออกแบบแสงสว่างในแต่ละพื้นที่มีความสวยงาม
และบรรยากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจากการใช้กำลังไฟ และจำนวนแสงสว่างที่ไม่เท่ากันหากใครต้องการความสวยงาม
สามารถออกแบบโดยการเน้นใช้แสงไฟไปทั่วบริเวณ แต่อาจต้องยอมแลกกับค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น แต่หากคุณต้องการเน้นเรื่อง
ประหยัดพลังงานเป็นหลัก จำนวนแสงสว่างที่ใช้อาจต้องลดลง และต้องยอมสละในเรื่องของความสวยงามทิ้งไป
-
การเลือกแสงของหลอดไฟให้เหมาะกับสถานที่
เพราะแสงจากหลอดไฟมีความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องสีที่ให้ อุณหภูมิแสง ตลอดจนความสามารถใน
การให้แสงสว่าง ดังนั้น คุณจะต้องรู้ว่าการออกแบบแสงสว่างในครั้งนี้ คุณคาดหวังกับอะไร ต้องการเน้นการใช้งานแบบไหน
หรือต้องการความสวยงามอย่างไร เพื่อให้คุณสามารถเลือกหลอดไฟที่จะใช้กับสถานที่ได้อย่างเหมาะสม
-
รูปแบบของหลอดและโคมไฟ
สิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบแสงสว่าง นั่นก็คือรูปแบบของหลอดและโคมไฟ ที่จะต้องคำนึงถึงอย่างรอบคอบ
เนื่องจากมีผลกับภาพรวมหลังจากการติดตั้งแสงสว่าง อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการใช้งานในระยะยาว ว่าจะทนทานมากน้อยแค่ไหน
ดังนั้น จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทั้งในเรื่องของคุณภาพ ราคา และคุณสมบัติในการใช้งาน เพื่อให้ตอบสนองการใช้งานได้
ที่ทนทาน และง่ายต่อการบำรุงรักษา
หากใครกำลังมองหาบริการออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) สำหรับติดตั้งระบบแสงสว่างทั้งภายในและภายนอกอาคาร
เลคิเซ่ (LeKise) ผู้นำด้านแสงสว่างในประเทศไทย มีบริการออกแบบแสงสว่าง คิดคำนวณค่าความสว่างด้วยโปรแกรม DiaLux
โดยทีมวิศวกรแสงสว่าง วางแผนระบบแสงเพื่อหาค่าความส่องสว่างให้เพียงพอต่อการใช้งานบริการคำนวณค่าความสว่าง
มาตรฐานในแต่ละพื้นที่ ในกรณีที่สถานที่นั้นมีการกำหนดแสงที่ต้องใช้เอาไว้อย่างชัดเจน ได้รับการไว้วางใจจากภาครัฐ
ภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นๆสร้างผลงานมากมาย อาทิ สนามฟุตบอล โรงจอดรถ โรงพยาบาล โรงงานและคลังสินค้า
ถนน เป็นต้น หากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแสงสว่าง ให้เลคิเซ่ (LeKise) ดูแลคุณนะคะ
ที่นี่มีให้คุณเลือกสรรครบจบในที่เดียว