การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนในเวลากลางคืน ไฟฟ้าแสงสว่าง
ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ขับขี่มีทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ชัดเจนมากขึ้น แต่ความต้องการไฟฟ้าแสงสว่างของถนนในแต่ละบริเวณ
จะแตกต่างกันไปตามลักษณะทางกายภาพของถนน สภาพการจราจร และสภาพแวดล้อมของถนนในแต่ละพื้นที่
การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณทางแยก ทางร่วม ทางโค้ง และบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางเดินรถ จะช่วยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น
นอกจากนี้แสงสว่างยังมีประโยชน์ด้านความปลอดภัยมากในพื้นที่เขตชุมชนหรือในเมือง เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ใช้ทางมีความปลอดภัย
ด้านการจราจรเท่านั้น แสงสว่างยังช่วยป้องกันอาชญากรรมให้กับคนเดินเท้าได้อีกด้วย
ซึ่งในงานไฟฟ้าแสงสว่างบนถนน มีหลายปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณา เพื่อให้ได้ความส่องสว่าง เพียงพอตามมาตรฐาน
รวมทั้งข้อกำหนดอื่นๆเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีด้วยกัน 5 ปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ความส่องสว่าง (Illuminance)
หมายถึง ความส่องสว่างที่กระทบลงบนวัตถุมีความสัมพันธ์ คือ ปริมาณแสง (ลูเมน) /พื้นที่มีหน่วยคือ ลักซ์ (Lux) กับ ฟุตแคนเดิล
(footcandle , fc)ความส่องสว่าง 1 Lux หมายถึง ปริมาณเส้นแรงของแสง 1 ลูเมนไปตกลงบนวัตถุบนพื้นที่ 1 ตารางเมตรบนพื้นผิวของ
ทรงกลม ความส่องสว่าง 1 fcหมายถึง ปริมาณเส้นแรงของแสง 1 ลูเมนไปตกลงบนวัตถุบนพื้นที่ 1 ตารางฟุตบนพื้นผิวของทรงกลม
2. ความสว่าง (Luminance)
หมายถึง ความส่องสว่างที่สะท้อนออกมาจากวัตถุ มีหน่วยเป็นแคนเดลา/ตารางเมตร หากวัตถุมีผิวที่มีลักษณะแตกต่างกันหรือมีสีที่
ต่างกันก็จะทำให้ค่าความสะท้อน ที่ต่างกัน นั่นคือค่าความสว่าง (Luminance) จะต่างกันไปด้วย เช่น หากเราส่องแสงเข้ากระทบกับวัตถุ
สีขาวจะมีความสว่างมากกว่าวัตถุสีดำนั้นเอง
3. ค่าความสม่ำเสมอของการกระจายแสง (Uniformity of Illumination)
ค่าความสม่ำเสมอของความสว่าง มีความจำเป็นสำหรับการมองเห็น และเกี่ยวกับ Visual Comfort (ความสบายตาในการมองเห็น)
ของคนขับรถซึ่ง Uniformity Ratio (สัมประสิทธิ์ความสม่ำเสมอ) เป็นค่าของสัดส่วนระหว่าง ค่าความสว่างต่ำที่สุด กับค่าความสว่างโดยเฉลี่ย
4. การจำกัดสภาวะแสงบาดตา (Limitation of glare)
ปัจจัยตัวนี้ เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ประสิทธิภาพของการขับขี่ยานยนต์ลดลง โดยทั่วไปสภาวะ Glare (แสงแยงตา) เกิดขึ้นเมื่อมี
ความสว่างมากซึ่งแบ่งประเภทของสภาวะ Glare เป็น 2 ประเภท คือ
4.1 ภาวะด้อยประสิทธิภาพจากแสงแยงตา (Discomfort Glare) คือ การรับรู้ของการมองเห็นที่ไม่สบายตา ซึ่งในการออกแบบต้องให้
ผู้ขับขี่เกิดความสบายตาในการมองลดการมองเห็นวัตถุได้ยาก
4.2 ภาวะไร้ประสิทธิภาพจากแสงแยงตา (Disability Glare) คือ การรับรู้ของการมองเห็นที่ไม่สามารถมองเห็นวัตถุนั้นได้
Disability Glare (Veiling Luminance) จะเกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางมาแบบไม่มีทิศทาง จนทะลุพ้น เสมือนทะลุผ่านเนื้อแก้ว
ซึ่งจะเกิดสภาวะการมองเห็นได้น้อยหรือไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะมองเห็นวัตถุนั้น
ได้ยาก เช่น สภาพถนนเปียก เป็นต้น
มุมของลำแสงดวงโคมในแนวตั้ง และมุมที่ทำให้เกิดสภาวะของแสงบาดตา
การเลือกใช้โคมไฟที่ไม่เหมาะสม และติดตั้งไม่ถูกต้อง จะเกิดจุดหรือบริเวณสว่างเหมือนม่านแสง และทำให้เกิด Glare
ซึ่งสามารถลดลงได้โดยการเลือกใช้โคมไฟที่เหมาะสม และการออกแบบที่ดี
5. โคมไฟ (luminaire)
หลอดไฟฟ้ามีหน้าที่ให้ความสว่างแต่ส่วนใหญ่มักมีการให้ความสว่างรอบตัวหลอดเองคือ ไม่มีทิศทางการส่องสว่างที่แน่นอน ยกเว้น
หลอดประเภทที่มีตัวสะท้อนแสงภายในตัวเองหลอดที่ให้แสงสว่างรอบตัวมีประสิทธิภาพการใช้งานต่ำ เพราะมีแสงออกรอบทิศแทนที่
จะส่องไปในบริเวณที่ต้องการดังนั้นการผลิตโคมไฟฟ้ามาใช้กับหลอดไฟฟ้า ก็เพื่อบังคับให้แสงส่องไปในทิศทางที่ต้องการ ทำให้
ประสิทธิภาพการใช้งานของหลอดไฟฟ้าสูงมากขึ้นสำหรับโคมภายนอกควรกันน้ำได้ และมีความปลอดภัยต่อการสัมผัส
เลคิเซ่มีบริการออกแบบแสงสว่างถนน พร้อมบริการคำนวนแสงสว่างตามมาตรฐานที่กำหนด โดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์
และความสามารถให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดเรื่องแสงสว่างไว้ใจเลคิเซ่