เช็คก่อนช็อต : ไฟรั่ว ไฟช็อต ไฟดูด ป้องกันได้?
อุบัติเหตุที่เกิดจากระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ไฟรั่ว ไฟช็อต หรือไฟดูด อาจจะทำให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่ปัญหาเหล่านี้เราสามารถป้องกันได้ เพียงแค่เราใส่ใจกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า ไฟรั่ว ไฟช็อต ไฟดูด นั้นต่างกันอย่างไร วันนี้เลคิเซ่จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ ไฟรั่ว ไฟช็อต ไฟดูด กันก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ
ไฟรั่ว คืออะไร ?
ไฟรั่ว คือ การที่กระแสไฟฟ้ารั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไปสู่ภายนอก เช่น ผิวของสายไฟหรือโครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หากสัมผัสอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุของการเกิดไฟรั่วสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การเดินสายไฟและระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ ขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มาเป็นเวลานาน ซึ่งจุดที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจนเกิดความร้อนขึ้นและหากความร้อนสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติด ไฟจนเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้
ไฟดูด คืออะไร ?
ไฟดูด เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นโดยมีต้นเหตุจากไฟรั่ว จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไปสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟ โดยที่อุปกรณ์หรือสายไฟนั้นอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ มีการแตกหัก ฉนวนหุ้มสายไฟชำรุด หรือเปียกน้ำ จนทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายและลงสู่พื้นดิน ส่งผลให้กล้ามเนื้อภายในร่างกายมีอาการเกร็ง มีแผลไหม้ ชัก หมดสติ และอาจส่งผลให้หัวใจทำงานผิดจังหวะ และเต้นอ่อนลง จนหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด
วิธีการช่วยเหลือผู้ที่กำลังโดนไฟดูด
สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุดโดยการถอดปลั๊ก ปิดสวิตช์ หรือปิดเบรกเกอร์ ก่อนเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อความปลอดภัยของผู้ช่วยและผู้ถูกช่วยเหลือ ไม่ควรไปสัมผัสกับผู้ถูกดูดโดยตรงหากยังไม่ตัดกระแสไฟฟ้า หรือขณะที่ตัวเปียกชื้น เพราะน้ำอาจจะเป็นตัวนำไฟฟ้าและทำให้ผู้เข้าไปช่วยเหลือถูกไฟดูดตามไปอีกด้วย
ไฟช็อต คืออะไร ?
ไฟช็อต เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) จากการโอนกระแสไฟฟ้าจากสายไฟเส้นหนึ่งไหลผ่านไปยังเส้นอื่น ๆ โดยที่ไม่ได้ผ่านอุปกรณ์โหลด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ ส่งผลทำให้เกิดการไหลเวียนของไฟฟ้าแบบผิดปกติ และเกิดความร้อนขึ้นในจุดที่มีการลัดวงจร และอาจทำให้เกิดประกายไฟและไฟไหม้ได้ สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบ คือ ฉนวนของตัวสายไฟชำรุด หรือสายไฟเกิดการแตะกันโดยบังเอิญ
ไฟรั่ว ไฟช็อต ไฟดูด ป้องกันได้อย่างไร?
-
ตรวจเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ
ถูกไฟดูด เมื่อใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อใดที่เราสัมผัสกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบแล้วเกิดไฟดูด หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนี้มีกระแสไฟฟ้ารั่ว เราจึงควรตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะต้องใช้มือจับในการใช้งาน อาทิเช่น เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น
-
ตรวจเช็คมิเตอร์ไฟฟ้า
ในเบื้องต้นคุณสามารถทำการทดสอบด้วยการปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน ปิดสวิตช์ไฟทุกจุด รวมทั้งการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เบรคเกอร์ หรือคัทเอาท์ภายในบ้านทั้งหมด แล้วจึงตรวจสอบว่ามิเตอร์ไฟยังหมุนอยู่หรือไม่? โดยปกติมิเตอร์จะทำการหมุนต่อเมื่อมีการใช้งานไฟฟ้า ซึ่งถ้าเราได้ทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว มิเตอร์ยังทำงานอยู่ นั่นหมายความว่าภายในบ้านของคุณอาจจะมีกระแสไฟรั่วหรือไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน ต้องรีบให้เจ้าหน้าที่หรือช่างไฟ ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุและแก้ไขโดยด่วน
-
ค่าไฟสูงขึ้นผิดปกติ
เมื่อมีไฟฟ้ารั่วไหล ทำให้การใช้งานไฟฟ้าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าเราใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันแบบปกติ แต่ยังรู้สึกว่าค่าไฟฟ้าสูงขึ้น จึงควรตรวจสอบว่ามีไฟรั่วเกิดขึ้นหรือไม่
-
บ้านมีความร้อนสูงกว่าปกติ
หากภายในบ้านมีอุณหภูมิภายในบ้านมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ ไฟรั่วก็ถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิภายในบ้านสูงขึ้นได้ เนื่องจากมีการไหลเวียนไฟฟ้าลงสู่ดินผ่านวัสดุที่นำไฟฟ้าส่งผลให้เกิดความร้อนขึ้น
-
ติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน
สายดิน (Earthing System) เป็นสายไฟที่ต่อจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้เป็นเส้นทางสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่เกิดการรั่วไหลลงไปสู่ดิน มีความสำคัญและเป็นมาตรการหลักในการช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วได้ เพราะเมื่อเราสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมา กระแสไฟฟ้าก็จะถูกไหลจากอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านลงสู่ดิน แทนการไหลผ่านร่างกายของเรา ทำให้เราไม่ได้รับอันตราย
-
ตรวจเช็คสายไฟฟ้า
ให้ตรวจสอบสายไฟฟ้าว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายหรือไม่? หากพบให้รีบเปลี่ยนใหม่ โดยเฉพาะสายไฟในจุดที่มองไม่เห็น เช่น สายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดานที่อาจเปื่อยตามอายุการใช้งาน ในกรณีที่ไม่ได้หุ้มสายไว้ด้วยท่อร้อยสายไฟ อาจจะโดนหนูกัดแทะฉนวน จนสายไฟขาดได้
-
ตรวจเช็คเต้ารับไฟฟ้า
ให้ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้าดูว่า มีอาการหลวม รอยแตกร้าว หรือรอยไหม้บ้างหรือไม่? ถ้าเต้ารับหลวม แนะนำให้ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้ามีการแตกร้าวหรือพบรอยไหม้ก็แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ และควรตรวจสอบโดยสามารถใช้ไขควงวัดไฟแตะทดสอบ
นอกเหนือจากวิธีตรวจเช็คต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้วทางเลคิเซ่ขอแนะนำ วิธีที่สะดวกและปลอดภัยที่สุด คือ การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว เครื่องตัดกระแสไฟรั่ว ระบบตัดไฟอัตโนมัติ (Residual Current Device : RCD) หรือเลือกใช้ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ที่มีเมนเบรกเกอร์แบบ RCBO กันไฟรั่ว ไฟดูด ไฟเกิน และไฟฟ้าลัดวงจร ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากไฟฟ้า เพราะไฟฟ้าที่รั่วไหลจะถูกตรวจสอบจากอุปกรณ์ตัดไฟ และทำการตัดกระแสไฟฟ้าทันทีเมื่อมีการลัดวงจร ส่วนสายดินจะช่วยนำกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหล ให้ไหลไปยังใต้ดิน ทำให้ผู้ที่จับอุปกรณ์ดังกล่าวไม่โดนไฟดูด
LeKise Consumer Unit (RCBO และ MCB) กันไฟรั่ว ไฟดูด ไฟเกิน และไฟฟ้าลัดวงจรได้
เป็นอุปกรณ์ที่รวมคุณสมบัติของ RCBO เมนเบรกเกอร์สามารถทนค่ากระแสการลัดวงจร ก่อนที่จะตัดหรือทริป จะต้องมีค่า IC ไม่น้อยกว่า 10kA ตามมาตรฐาน IEC 60898 ช่วยป้องกันแรงดันส่วนเกินจากไฟฟ้า ที่อาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเป็นอันตรายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้
และ เซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB) ปลอดภัยสูงสุดด้วยการเปิดหรือปิดวงจรไฟฟ้า โดยเซอร์กิตเบรกเกอร์จะตัดไฟฟ้าเมื่อมีการลัดวงจรเกิดขึ้น (Short Circuit) สามารถตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่ว 15 มิลลิแอมป์ และ 30 มิลลิแอมป์ เหมาะสำหรับใช้ป้องกันไฟดูดแก่ผู้อยู่อาศัย และป้องกันไฟรั่วของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร สามารถตัดไฟเฉพาะจุดที่มีปัญหา ไฟไม่ดับทั้งบ้าน ทำให้มีความปลอดภัยและได้รับความสะดวกสบาย
มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน รวมถึงบริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบวงจรโดยพนักงานมืออาชีพ ติดต่อเราได้เลย ที่นี่ Line ID : @lekisegroup หรือ https://page.line.me/lekisegroup
เลคิเซ่ หวังว่าคอนเท็นต์ เช็คก่อนช็อต : ไฟรั่ว ไฟช็อต ไฟดูด ป้องกันได้! จะมีประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อมในการรับมืออุบัติเหตุทางไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้น ฝากกดไลก์ กดติดตามเพจ LeKise Lighting เพื่อไม่พลาดข่าวสารและโปรโมชันดีๆ จากทางเลคิเซ่นะคะ
Link ข้อมูลสินค้า https://www.lekise.com/th/product/consumer_unit