3 ขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตัวเอง ไม่ยากอย่างที่คิด

          สำหรับคนที่อยากติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องดำเนินการขอมิเตอร์ไฟฟ้าอย่างไร ซึ่งขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้าหลายๆ คนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก หรือต้องมีขั้นตอนต่างๆ มากมายหรือป่าว แต่ในความเป็นจริงแล้วขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้าไม่ยากอย่างที่เราคิด
          วันนี้เลคิเซ่จะมาแนะนำ 3 ขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตัวเอง ไม่ยากอย่างที่คิด รวมไปถึงการเตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ ในการขอมิเตอร์ไฟฟ้า จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

 


ขั้นตอนในการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า

การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้านั้นไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยากอย่างที่เข้าใจการขอมิเตอร์ไฟฟ้ามีเพียง 3 ขั้นตอนหลักๆดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. การเตรียมเอกสารให้พร้อม 

การเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการขอมิเตอร์ไฟฟ้า
ก่อนอื่นต้องเช็กคุณสมบัติผู้ที่จะขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้าได้ก่อน

  1. เป็นเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า
  3. ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า 
เมื่อเช็กคุณสมบัติที่จะขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว เอกสารที่จะต้องเตรียมแบ่งได้เป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1 ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าถาวร
เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการขอมิเตอร์ไฟฟ้าบ้านใหม่

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า
  • สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน)

เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการขอมิเตอร์ไฟฟ้านิติบุคคล

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม
  • ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ออกให้ไม่เกิน 3 เดือน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า

    *ในกรณีที่มอบอำนาจให้คนอื่นทำแทนต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  • หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท

เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการขอมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านเช่า

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า
  • สำเนาสัญญาเช่าบ้านพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า

กรณีที่ 2 ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว
เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการขอมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว(ใช้ในช่วงก่อสร้างหรือปรับปรุง)

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  • สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง(ถ้ายังไม่ได้ให้ถ่ายสำเนาใบคำขอมาแทน)
  • โฉนดที่ดินสถานที่ขอใช้ไฟ

    *ในกรณีที่มอบอำนาจให้คนอื่นทำแทนต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  • หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท
 


 

ขั้นตอนที่ 2. ยื่นเอกสาร 

          เมื่อเตรียมเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำเอกสารไปยื่นเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้า โดยการยื่นเอกสารเพื่อขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้านั้น สามารถยื่นได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าในเขตนั้นๆโดยในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ต้องยื่นที่สำนักงานของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนในจังหวัดอื่นๆ ต้องยื่นที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่
 


 

 

ขั้นตอนที่ 3. ตรวจสอบความถูกต้อง 

          เมื่อได้ยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารต่างๆ จากนั้นจะดำเนินเรื่องการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ถ้าเอกสารต่างๆ มีความเรียบร้อยเจ้าหน้าที่ก็จะนัดวันและเวลาเพื่อเข้าไปตรวจสอบระบบไฟของบ้านที่ขอมิเตอร์ไฟฟ้า เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้ว หากพบว่าไม่ถูกต้องไม่ปลอดภัย ก็จะแจ้งให้เราทราบดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง เมื่อแก้ไขถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยค่าธรรมเนียมนั้น การไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง ที่สำคัญหากชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้วอย่าลืม! เก็บใบเสร็จเพื่อเป็นหลักฐานการชำระเงิน หากชำระเงินเรียบร้อยแล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้านำมิเตอร์ไฟฟ้ามาติดตั้ง และเดินสายไฟฟ้าต่อเข้าบ้านให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จ (ในกรณีขอมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว เพื่อนๆ ต้องเตรียมสายไฟฟ้าและคัตเอาต์ เบรกเกอร์ตามขนาดมอเตอร์มาในวันชำระเงินด้วย)
 

         
          หากใครไม่สะดวกไปยื่นเอกสารที่สำนักงานการไฟฟ้า ก็สามารถยื่น ขอมิเตอร์ไฟฟ้า ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ที่ www.pea.co.th หรือหากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามการไฟฟ้าโดยตรงสามารถติดต่อได้ที่หมายเลข 1130 สำหรับการไฟฟ้านครหลวง และหมายเลข 1129 สำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เลยค่ะ 

          สำหรับระยะเวลาในการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ทั้งขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนและถูกต้อง การพิจารณาคำร้องตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร และติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าพร้อมจ่ายไฟ หากอยู่ในเขตชุมชนใช้เวลาประมาณ 5 วันทำการ และนอกเขตชุมชนใช้เวลาประมาณ 8 วันทำการ นับตั้งแต่รับชำระเงิน

          เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 3 ขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้า มีขั้นตอนการขอไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมคะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่เข้ามาอ่านไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามการเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าก็สำคัญมาก ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง 

          สำหรับใครที่กำลังมองหามิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อนำไปใช้ติดตั้งในหอพัก ห้องพัก อพาร์ทเม้นท์หรือบ้านเช่า แนะนำให้เลือกใช้มิเตอร์ไฟฟ้าของเลคิเซ่ เพราะสามารถบอกค่าการใช้งานไฟฟ้าได้อย่างเที่ยงตรง ผ่านการทดสอบโดยใช้เครื่องมือวัดที่ได้มาตรฐาน แม่นยำ และ ตรงตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด

 

สำหรับใครที่ยังไม่ทราบวิธีการอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าของเลคิเซ่ โฉมใหม่สามารถอ่านบทความได้ที่นี่ คลิก

 

สามารถหาซื้อได้ที่ : ห้าง SCG Home และร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ(สอบถามรายละเอียดร้านค้าที่วางจำหน่ายที่แอดมินได้เลย)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เตรียมความพร้อมก่อนขอใช้ไฟฟ้า.pdf (pea.co.th)

พิเศษสมัครสมาชิก My LeKise Rewards ได้ส่วนลดแถมรับสิทธิประโยชน์ก่อนใคร
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ตามช่องทาง
Line ID : @lekisegroup หรือ https://page.line.me/lekisegroup
LeKise : รับตัวแทนจำหน่ายและรับผลิตสินค้า OEM