ปลั๊กไฟทั่วโลกเป็นเหมือนกันไหมนะ?
ใครเคยไปเที่ยวต่างประเทศครั้งแรก แล้วเจอปัญหา เต้าเสียบที่เตรียมมาไม่สามารถใช้งานกับเต้ารับที่ต่างประเทศได้บ้าง เพราะในแต่ละประเทศก็มีประเภทของเต้าเสียบ เต้ารับที่ใช้งานได้แตกต่างกันออกไป ถ้าไม่ศึกษาและเตรียมมาให้ดี อาจจะทำให้ทริปนั้นถึงขั้นหมดสนุก
แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าปลั๊กไฟ เต้ารับ เต้าเสียบในต่างประเทศมีกี่แบบ เลคิเซ่ ขอมาบอกความแตกต่างของเต้ารับแต่ละแบบ เพื่อให้การท่องเที่ยวในต่างประเทศได้อย่างไม่มีสะดุด ไปดูกันเลยค่า
ปลั๊กไฟ Type A
- ปลั๊กหัวแบน สองขา (ไม่มีกราวด์) ข้อสังเกตขนาดเต้าเสียบของแต่ละข้าง นั้นแบนและไม่เท่ากัน และไม่มีขาสำหรับสายดิน ปลั๊กไฟอเมริกัน: ขาข้างหนึ่งกว้างกว่าอีกข้าง เวลาเสียบจึงสามารถเสียบได้เพียงด้านเดียว ไม่สามารถสลับด้านได้ ปลั๊กไฟญี่ปุ่น: ขาทั้ง 2 ข้างมีขนาดเท่ากัน เวลาเอาปลั๊กญี่ปุ่นไปเสียบในอเมริกาจึงสามารถเสียบได้
- ประเทศที่ใช้งาน : อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศแคริเบียน บาฮามาส หมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น โคลัมเบีย จอร์แดน ลาว เลบานอน ไลบีเรีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เติร์กเมนิสถาน และเวเนซุเอลา (ปลั๊กไฟในประเทศไทยสามารถใช้ได้)
ปลั๊กไฟ Type B
- ปลั๊กหัวแบนสองขา คล้ายกับปลั๊กไฟ Type A แต่เพิ่มขากลมอีก 1 ขา (ขากราวด์) หรือที่รู้จักกันว่า ‘ปลั๊กขาสายดิน’ โดยขากราวด์จะมีความยาวขา มากกว่าอีก 2 ขา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ประเทศที่ใช้งาน : อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศแคริเบียน บาฮามาส หมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น โคลัมเบีย จอร์แดน ลาว เลบานอน ไลบีเรีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เติร์กเมนิสถาน เวเนซุเอลา (ปลั๊กไฟในประเทศไทยสามารถใช้ได้)
ปลั๊กไฟ Type C
- ปลั๊กหัวกลม 2 ขา (ไม่มีกราวด์) โดยในหลายมาตรฐานจะเรียกปลั๊กประเภทนี้ว่า Europlug แต่ในปัจจุบัน ถูกทดแทนด้วยช่องเสียบปลั๊ก Type E, F, J, K หรือ N (แต่ยังสามารถเอา Type C ไปเสียบกับปลั๊กทุกแบบที่กล่าวมาได้อยู่) ด้วยการรองรับแรงดันไฟที่มากกว่าแบบ C และถูกใช้แพร่หลายมากกว่า อย่างไรก็ตาม หัวปลั๊กที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากยังคงใช้ปลั๊กแบบ Type C อยู่ และยังคงเป็นปลั๊กแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบัน โดยทั่วไปจะจำกัดไว้สำหรับใช้ในเครื่องใช้ที่ต้องการไฟไม่เกิน 2.5 แอมป์
- ประเทศที่ใช้งาน : ยุโรป เช่น ฝรั่งเศส ออสเตรีย ฟินแลนด์ เกาหลี ลาว มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ / ยกเว้นสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ ไซปรัส และมอลตา (ปลั๊กไฟในประเทศไทยสามารถใช้ได้)
ปลั๊กไฟ Type D
- ปลั๊กไฟขากลม 3 ขา โดยปลั๊กหัวกลมคู่ โดยขากลางเป็นขากราวด์ขนาดใหญ่ เรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีความคล้ายคลึงกัน Type M ที่มีความคล้ายคลึงกัน ใช้ได้กับเต้ารับของปลั๊กไฟ Type M โดยไม่ต้องใช้ปลั๊กพ่วงหรือหัวแปลงเนื่องจากมีลักษณะคล้ายกันแต่รองรับกำลังไฟได้มากกว่า
- ประเทศที่ใช้งาน : อินเดีย ฮ่องกง ศรีลังกา เนปาล นามิเบีย บังกลาเทศ ภูฏาน บอตสวานา คองโก โดมินิกา กานา อิรัก จอร์แดน เลบานอน มาเก๊า มาดากัสการ์ โมนาโก พม่า ไนจีเรีย ปากีสถาน กาตาร์ แอฟริกาใต้ ซูดาน แทนซาเนีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน แซมเบีย ซิมบับเว (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)
ปลั๊กไฟ Type E
- มีลักษณะ 2 ขากลม และ 1 คลิปกราวด์ และหากสังเกตดี ๆ ก็จะเห็นว่าบริเวณเต้ารับมีขาปลั๊กอยู่ข้างใน 1 ขาด้วย สำหรับสายดิน มีความใกล้เคียงกับปลั๊กยุโรป Type F
- ประเทศที่ใช้งาน : ฝรั่งเศส เบลเยียม สโลวาเกีย ตูนิเซีย แอฟริกากลาง คองโก สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอธิโอเปีย กรีนแลนด์ ลาว ไลบีเรีย มาดากัสการ์ โมนาโก มองโกเลีย โมร็อกโก โปแลนด์ ซีเรีย (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)
ปลั๊กไฟ Type F
- ปลั๊กไฟ Schuko plug มีลักษณะขากลมคู่ พร้อมคลิปกราวด์ทั้งสองด้าน เต้ารับจะเป็นหลุมลงไป เพื่อยืดตัวปลั๊กไฟไว้ เพื่อความปลอดภัย โดยพบในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดในประเทศไทย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
- ประเทศที่ใช้งาน : เยอรมนี ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ สเปน เซอร์เบีย สโลวีเนีย สวีเดน ไทย ตุรกี เติร์กเมนิสถาน ยูเครน อุรุกวัย อียิปต์ อัฟกานิสถาน อาร์มีเนีย ออสเตรีย อาเซอร์ไบจาน เวียดนาม ภูฏาน บัลแกเรีย โครเอเชีย เดนมาร์ก เอธิโอเปีย ฟินแลนด์ จอร์เจีย กรีซ กรีนแลนด์ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อินโดนีเซีย อิหร่าน อิตาลี จอร์แดน คาซัคสถาน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ลาว ไลบีเรีย ลักเซมเบิร์ก มาเก๊า โมนาโก มอนเตเนโกร พม่า นอร์เวย์ โปรตุเกส โรมาเนีย รัสเซีย (ปลั๊กไฟในประเทศไทยสามารถใช้ได้)
ปลั๊กไฟ Type G
- มีลักษณะเหลี่ยมแบนทั้ง 3 ขา ขาเรียงตัวกัน และมีทรงสามเหลี่ยมที่ส่วนปลาย ไม่สามารถใช้ร่วมกับปลั๊ก Type ได้ ตามมาตรฐานของปลั๊ก Type G นี้จะมีฟิวส์ฝังอยู่ภายในด้วย เป็นหนึ่งในปลั๊กประเภทที่มีความปลอดภัยสูง
- ประเทศที่ใช้งาน : อังกฤษ สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ ไซปรัส มอลตา มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง บาห์เรน บังกลาเทศ ภูฏาน บรูไน กัมพูชา โดมินิกา กานา อิรักจอร์แดน เคนยา คูเวต เลบานอน มาเก๊า มัลดีฟส์ พม่า ไนจีเรีย โอมาน ปากีสถาน กาตาร์ ซาอุดิอาราเบีย ศรีลังกา ยูกันดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน แซมเบีย ซิมบับเว
ปลั๊กไฟ Type H
- มีสามขาแบน เรียงกันเป็นสามเหลี่ยม เอียงเข้าหากัน ปลั๊กชนิดนี้นอกจากจะมีลักษณะไม่เหมือนประเภทอื่นแล้ว ยังไม่มีประเทศไหนใช้นอกจากอิสราเอล ปลั๊กประเภทนี้กำลังถูกใช้น้อยลงเรื่อยๆ เพราะอิสราเอลกำลังปรับไปใช้ Type C และ Type M ที่เป็นหัวกลมทดแทนแล้ว สังเกตได้จากรูปลั๊กจะสามารถเสียบได้ทั้งแบบหัวแบนและหัวกลม ซึ่งรองรับทั้ง 3 มาตรฐาน
- ประเทศที่ใช้งาน : อิสราเอล
ปลั๊กไฟ Type I
- มีลักษณะหัวแบนทั้ง 3 ขา โดยที่ขา 2 ขาที่อยู่ในระนาบเดียวกันจะบิดเข้าหากัน เป็นตัว V คว่ำ พร้อมขากราวด์ ในบางรุ่นอาจมีขาแบนเพียง 2 ขาเท่านั้น ระบบปลั๊กไฟมาตรฐานมีพิกัด 10 แอมป์ ลักษณะคล้ายกับปลั๊กไฟ Type H ทำให้สามารถใช้งานได้กับปลั๊กไฟในประเทศจีน
- ประเทศที่ใช้งาน : ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี อาร์เจนตินา ฟิจิ ปานามา และจีน
ปลั๊กไฟ Type J
- มีลักษณะกรอบเต้ารับเป็นหกเหลี่ยม และมีขากลมทั้งหมด 3 ขา แต่มีระยะห่างของขากราวด์ไม่มาก โดยปลั๊กหัวกลม 2 หัวใน Type C สามารถนำมาเสียบเข้ากับปลั๊ก Type J ได้พอดี โดยไม่ต้องใช้หัวแปลง ดังนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยที่เป็น Type C สามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้องผ่าน Adapter แปลงกำลังไฟ
- ประเทศที่ใช้งาน : สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ รวันดา จอร์แดน มาดากัสการ์ มัลดีฟส์
ปลั๊กไฟ Type K
- เป็นปลั๊กยุโรป ที่มีความใกล้เคียงกับ Type F มาก โดยมีทั้งหมด 3 ขา มีลักษณะกลม 2 ขา และขากราวด์ สังเกตหน้าเต้ารับจะหมือนหน้าคนยิ้ม เต้าเสียบปลั๊ก Type K นี้ รองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นปลั๊กแบบ Type C (หัวกลมคู่) โดยสามารถนำมาเสียบได้เลย โดยไม่ต้องผ่าน Adapter แปลงกำลังไฟ มีทั้งหมด 3 ขา มีลักษณะกลม 2 ขา ส่วนตัวปลั๊กขาสายดินจะมีลักษณะเหมือนครึ่งวงกลมที่ถูกฉาบหน้าตัด
- ประเทศที่ใช้งาน : เดนมาร์ก กรีนแลนด์ บังกลาเทศ เซเนกัล ตูนิเซีย มาดากัสการ์ มัลดีฟส์
ปลั๊กไฟ Type L
- มีลักษณะเป็นขากลมทั้งหมด 3 ขา เรียงกันเป็นเส้นตรง อยู่ระนาบเดียวกันหมด โดยขาตรงกลางเป็นขากราวด์ เต้าเสียบของ Type L สามารถนำปลั๊กหัวกลมคู่อย่าง Type C และ Type F มาเสียบใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องใช้ Adapter แปลงกำลังไฟ
- ประเทศที่ใช้งาน : อิตาลี ชิลี เอธิโอเปีย มัลดีฟส์ อุรุกวัย (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)
ปลั๊กไฟ Type M
- หัวกลม 3 ขา โดยขา 2 ขาที่อยู่ในระนาบเดียวกัน จะเล็กกว่ากราวซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้า Type D หลายตัวสามารถนำมาใช้กับรูปลั๊กของ Type M ได้เลย โดยไม่ต้องผ่าน Adapter แปลงกำลังไฟ
- ประเทศที่ใช้งาน : ถูกใช้เป็นหลักในประเทศแอฟริกาใต้ และประเทศใกล้เคียง (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)
ปลั๊กไฟ Type N
- มีลักษณะกรอบเต้ารับเป็นหกเหลี่ยมและมีขากลมทั้งหมด 3 ขา แต่ขากราวด์ของ Type N อยู่ชิดกับขาหลักมากกว่าเล็กน้อย ซึ่งเกือบอยู่ในระนาบเดียวกัน ใกล้เคียง type J ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับปลั๊กไฟ Type C ได้ โดยไม่ต้องผ่าน Adapter แปลงกำลังไฟ
- ประเทศที่ใช้งาน : บราซิล แอฟริกาใต้ (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)
- ข้อควรระวังสำหรับประเทศบราซิล คือเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลก ที่มีระบบการจ่ายไฟ 2 แรงดัน คือบางพื้นที่จ่ายไฟ 127V ในขณะที่บางพื้นที่จ่ายไฟ 220V
ปลั๊กไฟ Type O
- ลักษณะของปลั๊กไฟ Type O เป็นปลั๊ก 3 ขั้ว ประกอบด้วย 2 ขากลมปกติ และอีก 1 ขาสายดิน เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.8 มม. ความยาวปลั๊กไฟ 19 มม. ปลอกหุ้มฉนวนยาว 10 มม. ระยะห่าง 19 มม.
- ประเทศที่ใช้งาน : ประเทศไทย ได้รับการออกแบบใน พ.ศ. 2549
ในประเทศไทยเต้ารับต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 166-2549 โดยมีลักษณะ 3 ขา หรือ เต้ารับแบบมีกราวด์ ที่เรามักเรียกกันติดปากว่า "เต้ารับ 3 ขา" โดยจะมี ชนิดขากลม “เต้ารับขากลม” และชนิดขาเบน “เต้ารับขาแบน” แต่ถ้าเป็นเต้ารับของรางปลั๊กไฟ หรือปลั๊กพ่วง จะต้องมีม่านนิรภัย เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ก่อนจะซื้อเต้ารับหรือรางปลั๊กไฟ อย่าลืม! เลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี มีมาตรฐานจากเลคิเซ่ รู้แบบนี้แล้ว ก่อนที่เราจะเดินทางไปยังต่างประเทศ ควรศึกษาและหาข้อมูลก่อน จะได้สนุกสนานตลอดทริปแบบไร้กังวล
- Source: jptravelstore.com
- Source: focusjourney