เรื่องแสงสว่างที่เจ้าของกิจการ จำเป็นต้องรู้!
มาตรฐานความเข้มของแสงสว่างในสถานประกอบการ
ตามประกาศของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (Lux) โดยนายจ้างต้องจัดสถานที่ทำงานให้มีความเข้มของแสงสว่าง มีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการตรวจสอบค่าความเข้มแสงสว่างให้อยู่ในค่าที่ปลอดภัยต่อการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในจุดการทำงานที่แตกต่างกัน ค่ามาตรฐานแสงสว่างแต่ละจุดก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานที่ทำอีกด้วย
เพราะแสงสว่างมีผลต่อสุขภาพการมองเห็น หากไม่เพียงพอหรือจ้าเกินไป ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้เช่นกัน ซึ่งในกฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 และ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง พ.ศ. 2561 ให้ความหมาย ไว้ดังนี้
“ความเข้มของแสงสว่าง” หมายความว่า ปริมาณแสงที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยตารางเมตร
ซึ่งในประกาศนี้ใช้หน่วยความเข้มของแสงสว่างเป็นลักซ์ (LUX)
รูป : สถานที่ทำงาน ต้องสว่างแค่ไหน ถึงจะได้มาตรฐาน?
แล้วสถานที่ทำงาน ต้องสว่างแค่ไหน ถึงจะได้มาตรฐาน?
ตัวอย่าง “ความเข้มของแสงสว่าง” ในสถานที่ทำงาน อาทิ
-
ป้อม รปภ. : 50 ลักซ์
-
ลานจอดรถ ทางเดิน บันได : 50 ลักซ์
-
ประชาสัมพันธ์ : 300 ลักซ์
-
ห้องประชุม : 300 ลักซ์
-
โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร : 300 ลักซ์
-
ห้องประชุม ฝึกอบรม บรรยาย : 300 ลักซ์
-
ออฟฟิต ห้องทำงาน ที่ใช้คอมพิวเตอร์ : 500 ลักซ์
-
คลังสินค้า : 200 ลักซ์
-
จุดขนถ่ายสินค้า : 200 ลักซ์
-
ห้องน้ำ : 100 ลักซ์
หรืออ่านฉบับเต็ม ได้ตามตารางด้านล่าง
ตารางที่ ๑ มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ
ตารางที่ ๒ มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน
ตารางที่ ๓ มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์) บริเวณโดยรอบที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงาน โดยสายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน
ความถี่ในการตรวจแสงสว่าง
ในการตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงาน กำหนดให้ต้องตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับแสงสว่างอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และในกรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการผลิต วิธีการทำงาน รวมถึงการดำเนินการใดๆ ที่อาจทำให้ค่าความเข้มของแสงสว่างเปลี่ยนไปก็ต้องตรวจวัด เพื่อดูว่าค่าความเข้มแสงสว่างเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
หากไม่ผ่านตามมาตรฐานต้องรีบแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน หรือบางสถานประกอบกิจการอาจจะกำหนดให้ตรวจสอบทุกๆ 6 เดือน เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง เพราะเมื่อระยะเวลาผ่านไปประสิทธิภาพของการส่องสว่างของหลอดไฟก็จะลดลงตามไปด้วย
จุดที่ต้องตรวจวัดแสงสว่าง
บริเวณพื้นที่ทั่วไป บริเวณการผลิต และบริเวณที่ใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน ซึ่งแต่ละพื้นที่มีรายละเอียดการตรวจวัด ดังนี้
-
พื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิต ให้ตรวจในแนวระนาบสูงจากพื้น 75 เซนติเมตร
-
พื้นที่ทั่วไปที่มีการสัญจรในภาวะฉุกเฉินใต้ตรวจตามแนวเส้นสัญจรในแนวระนาบที่พื้นผิวทางเดิน
-
พื้นที่ที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือใช้สายตาอยู่กับที่ ให้ตรวจวัดในจุดที่สายตาตกกระทบชิ้นงานหรือจุดที่ทำงาน
ใครเป็นผู้ตรวจวัดแสงสว่าง
การตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงาน หากสถานประกอบกิจการมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ จป วิชาชีพ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ แต่เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจต้องถูกต้องตามที่กำหนด แต่หากไม่สามารถดำเนินการเองได้ ต้องให้ผู้ที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.2554 เป็นผู้ดำเนินการ
อ่านเพิ่มเติม : กฎหมายแสงสว่างฉบับเต็ม
-
กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559
-
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง พ.ศ. 2561
รู้แบบนี้แล้ว! นายจ้าง ต้องตรวจสอบความสว่าง แต่ละพื้นที่ให้ตรงตามที่มาตรฐานกำหนด เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานนะคะ
สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำด้านแสงสว่าง ให้ตรงกับความต้องการและงบประมาณ
"เลคิเซ่ โรงงานผลิตหลอดไฟ อยู่คู่คนไทยมามากกว่า 55 ปี"
Line ID : @lekisegroup หรือ https://page.line.me/lekisegroup
#Lekise #เลคิเซ่ #โรงงานหลอดไฟ #LeKiselighting #หลอดไฟ
ที่มา https://www.jorportoday.com/measurement-of-light/